Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

ลุ้น “ลุงตู่” ทำสถิติยุบสภาครั้งที่ 15

สภาล่ม องค์ประชุมไม่ครบ ต่อเนื่อง ท่ามกลางเสียงเรียกร้อง กดดันให้ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ขณะบรรยากาศหาเสียงเลือกตั้ง คึกคักมาเป็นพิเศษ

 

 

พรรคการเมืองต่างๆ ทั้งพรรคใหญ่พรรคเล็ก พรรคใหม่ พรรคเก่า ต่างลงพื้นที่พบปะประชาชน เตรียมความพร้อมกันอย่างเต็มที่ แม้จะยังไม่มีใครรู้ว่ารัฐบาลนี้จะอยู่ครบเทอม จะยุบสภา เพื่อชิงความได้เปรียบ หรือจะหนีการอภิปรายทั่วไปครั้งสุดท้ายเพราะคนที่จะให้คำตอบได้ คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพียงคนเดียวที่มีอำนาจตัดสินใจ

 

บรรดานักการเมือง นักเลือกตั้ง ก็เริ่มแทงหวย เดาใจไว้แล้ว มีทั้งอยู่พรรคเดิม ย้ายไปพรรคใหม่ หรือแม้แต่สลับขั้ว จากฝ่ายค้านเดิมไปอยู่รัฐบาล และจากซีกรัฐบาล ไปอยู่กับฝ่ายค้าน เพื่อเตรียมพร้อม ตลอดจนป้องกันปัญหาเทคนิคเรื่องข้อกฏหมาย ต้องสังกัดพรรคการเมืองให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เพื่อจะได้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าจะมีการยุบสภา หรือ อยู่จนครบวาระ ซึ่งก็เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย แบบไทยๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ตามประสาการเมืองที่ไม่มีมิตรแท้ หรือศัตรูที่ถาวร แต่เน้นที่เรื่องผลประโยชน์

 

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการยุบสภามาแล้วทั้งสิ้น 14 ครั้ง ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป โดยครั้งแรกเกิดขึ้น วันที่ 11 ก.ย.2481 สมัยรัฐบาล พันเอกพระยาพหลพลหยุหเสนาเนื่องจากรัฐบาลจขัดแย้งกับสภาเกี่ยวกับการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ และครั้งหลังสุด วันที่ 9 ธ.ค.2556 รัฐบาล

 

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องจากวิกฤติทางการเมืองคัดค้านการออกกฏหมายนิรโทษกรรมฉบับสุดซอย และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ คือนายกรัฐมนตรีของไทย ที่ประกาศยุบสภามากที่สุด ถึง 3 ครั้ง คือ วันที่ 19 มี.ค.2526,วันที่ 1 พ.ค.2529 และ วันที่ 29 เม.ย.2531โดยทั้ง 3 ครั้งก็มีเหตุผลที่แตกต่างกันไป ขณะ ที่ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาคนปัจจุบัน ก็เคยยุบสภา ถึง 2 ครั้ง วันที่ 19 พ.ค.2538 หลังถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ เรื่อง สปก.4-01 และ วันที่ 9 พ.ย.2543หลังปฏิบัติภารกิจสำคัญแล้วเสร็จ คือแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540

 

อย่างไรก็ตาม จากสถิติการยุบสภาทั้ง 14 ครั้ง มีเพียงครั้งเดียว ที่ยุบสภาแล้ว จัดเลือกตั้งใหม่ พรรครัฐบาลกลับมามีอำนาจอีกครั้ง คือในปี 2549 ที่ “ทักษิณ ชินวัตร” ยุบสภา ไทยรักไทย ชนะกลับมาเป็นรัฐบาลก่อนถูกรัฐประหารในเวลาต่อมา ดังนั้นการยุบสภาแต่ละครั้ง ถือเป็นการรีเซตทางการเมือง คืนอำนาจให้ประชาชน แต่ก็มีผลแห่งความได้เปรียบ

 

เสียเปรียบของรัฐบาลชุดก่อนอยู่ด้วย เพราะหาก ยุบสภาต้องกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน แต่หากอยู่ครบวาระ ต้องจัดเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วัน เมื่อดูถึงความได้เปรียบ เสียเปรียบแล้ว ครบวาระ หรือ ยุบสภา ก็ล้วนเป็นเกมชิงเหลี่ยมชิงไหวชิงพริบของนักเลือกตั้งทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จะเลือกแบบไหน และผลลัพธ์จะออกมาเหมือนเดิมอีกหรือไม่ อีกฝ่ายจะพลิกกลับมาเป็นรัฐบาล คำตอบคงปรากฏในเวลาอันใกล้นี้ …

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube