ซิ่งได้ 120 กม./ชม. เริ่ม 1 เม.ย.64 สายบางปะอินนำร่อง
กระทรวงคมนาคม นำร่อง ถนนหมายเลข 32 สายบางปะอิน ใช้ ความเร็ว120 กม./ชม. เริ่ม 1 เมย. นี้ พร้อมทำเครื่องหมายกำหนดพื้นที่
นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมความคืบหน้าการผลักดันนโยบายปรับเพิ่ม อัตราความเร็ว สูงสุดของรถยนต์บนถนนใช้ความเร็วสูงสุด ได้ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ความเร็ว120)
ว่า สำหรับรถที่วิ่งออกนอกเมือง ปกติจะใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ปัจจุบันถนนมีการพัฒนาทำให้ประชาชนใช้ความเร็วซึ่งมีถนนหลายเส้นที่สามารถรองรับความเร็วได้
ทั้งนี้ เบื้องต้นที่ประชุมได้กำหนด นำร่องทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 32 สายบางปะอิน หรือสายเอเชีย ช่วงบริเวณหมวดทางหลวงบางปะอิน-ทางต่างระดับอ่างทอง ในการทดลองใช้ความเร็ว โดยจะเริ่มในวันที่ 1 เมษายนนี้ และจะทำการติดเครื่องหมายแสดงให้ทราบว่า กำลังเข้าสู่พื้นที่กำหนดความเร็วสูงสุดตามกฎหมาย ซึ่งจะมีป้ายวงกลมขอบแดง ตัวอักษรดำ พื้นขาว มีสัญลักษณ์กำกับความเร็วบนพื้นถนน และติดตั้งอุปกรณ์สั่นสะเทือน
อย่างไรก็ตาม การกำหนดอัตรา ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 120 กม./ชม. ถนนที่สามารถใช้ความเร็วได้ อธิบดีกรมทางหลวงและอธิบดีกรมทางหลวงชนบท จะต้องเป็นผู้ออกประกาศพิจารณาว่าจะสามารถใช้เส้นทางใดได้
โดยทั้ง 2 หน่วยงานต้องให้วิศวกรเข้ามาดูว่าเข้าข่ายตามเกณฑ์หรือไม่ ก่อนจะมีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น มีการติดตั้งอุปกรณ์การสั่นสะเทือน และป้ายบอกความเร็ว
เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง รองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงขนส่งอ่าวไทยและอันดามัน ให้เป็นไปตามแผน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม ติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meetings ว่า การประชุมในวันนี้ เป็นการเร่งรัดติดตามความก้าวหน้า ของโครงการฯ ดังกล่าว ประกอบด้วยโครงการสำคัญ 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการศึกษา ความเหมาะสม ออกแบบ เบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land bridge) 2) การพัฒนามอเตอร์เวย์เชื่อม Land Bridge และ 3) การพัฒนารถไฟทางคู่เชื่อม Land Bridge
ทั้งนี้ แนวทางในการดำเนินโครงการ ต้องคำนึงถึงภาพรวมในการขนส่งทางทะเลของโลก ซึ่งในปัจจุบัน การขนส่งสินค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ใช้เส้นทางผ่านช่องแคบมะละกาเป็นเส้นทางหลัก และพื้นที่ภาคใต้ ของประเทศไทย มีความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์จากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาค เป็นประตูในการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งขณะนี้ สนข. อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกทำเลที่ตั้งโครงการพัฒนาท่าเรือ
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news