จีนสนับสนุนการเผยแพร่ชาและวัฒนธรรมชาบนเส้นทางสายไหม
กว่า 80 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศได้รับรองข้อริเริ่มของจีนว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าที่ไม่มีข้อจำกัดตามหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (China’s Initiative on Promoting Unimpeded Trade Cooperation Along the Belt and Road) ในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม 2566
นอกจากนี้ จีนได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรี 21 ฉบับ ร่วมกับ 28 ประเทศและภูมิภาค เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงทางการค้าภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา การค้าและการลงทุนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2556-2565 ยอดนำเข้าและส่งออกรวมระหว่างจีนกับประเทศที่เข้าร่วมข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง มีมูลค่าสูงถึง 19.1 ล้านล้านดอลลาร์ และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 6.4% จากรายงานสมุดปกขาวของสำนักสารสนเทศแห่งคณะมุขมนตรีจีน ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม
จากการเปิดเผยของสำนักงานศุลกากรจีน ยอดการส่งออกชาของจีนเติบโตอย่างมั่นคงในปี 2565 โดยจีนส่งออกชารวม 375,300 ตัน เพิ่มขึ้น 1.59% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
เมื่อแบ่งตามประเภทของชา จีนส่งออกชาเขียว 313,900 ตัน คิดเป็น 83.6% ของการส่งออกชาทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่การส่งออกชาดำและชาอู่หลงคิดเป็นสัดส่วน 8.9% และ 5.2% ตามลำดับ
ประเทศที่เข้าร่วมข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางต่างส่งออกชาเพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่น ประเทศเคนยา ซึ่งส่งออกชา 1.4 ล้านกิโลกรัมมายังจีนในปี 2565 จากการรายงานของคณะกรรมการอุตสาหกรรมชาแห่งสมาคมส่งเสริมความร่วมมือทางการเกษตรระหว่างประเทศของจีน
ในฐานะผู้ผลิตชารายใหญ่ เคนยาผลิตชาได้มากกว่า 450 ล้านกิโลกรัมต่อปี โดยอุตสาหกรรมชาคิดเป็นสัดส่วนราว 23% ของรายได้จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั้งหมดของเคนยา จากการรายงานของคณะกรรมการชาแห่งเคนยา นอกจากนี้ อุตสาหกรรมชายังหล่อเลี้ยงชีวิตประชาชนชาวเคนยาราว 5 ล้านคนทั้งทางตรงและทางอ้อม ในประเทศที่มีประชากรรวมทั้งสิ้น 53 ล้านคน
ในปีนี้ เคนยาคาดการณ์ว่ายอดส่งออกชาจะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากมีการส่งออกชาดำออร์โธดอกซ์และชาดำเคนยาไปยังจีนเพิ่มมากขึ้น จากการรายงานของสำนักงานเกษตรและอาหารแห่งเคนยา