Home
|
ทั่วไป

เส้นทางแนะนำออกต่างจังหวัดช่วงสงกรานต์ 2564

Featured Image

          สวัสดีวันปีใหม่ไทยล่วงหน้า สงกรานต์ 2564 ปีนี้คงเป็นอีกปีที่หลายคนเดินทางไปต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเที่ยว กลับบ้าน เพราะปีที่ผ่านเนื่องด้วยสถานการณ์โควิดทำให้หลายคนไม่ได้เดินทางกลับบ้าน ในปีนี้ กรมทางหลวง ได้แนะนำเส้นทางจากรุงเทพฯ ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564 และแน่นอนว่า ไอ.เอ็น.เอ็น นำข้อมูลมาสรุปให้ทุกคนเห็นภาพง่ายๆ และให้ทุกคนได้เลือกใช้เส้นทางเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจราจรที่ติดขัด

          ไอ.เอ็น.เอ็น จะบอกจุดหลักๆที่ผ่านเช่น ถนน จังหวัด เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกใช้และวางแผนเส้นทาง โดยมือใหม่หัดเดินทางหรือคนที่ไม่คุ้นเส้นทางอาจจะงงกับชื่อถนนหรือชื่อทางหลวง แนะนำว่าดูเส้นทางที่สรุปมาแล้วนำไปเปิดประกอบกับ Google Maps ในวันเดินทางหรือดูเส้นทางหลวงไว้เบื้องต้น โดยทั่วไปเราจะบอก ชื่อ จังหวัด อำเภอ ตามด้วยชื่อถนน ทางหลวง 

          กรุงเทพฯ ไป ภาคเหนือ 

          ใครที่เดินทางสู่ภาคเหนือจะมีให้เลือกทั้งหมด 5 เส้นทาง 

กรุงเทพไปภาคเหนือ

เส้นทางที่ 1 

เริ่มที่กรุงเทพฯไปทางรังสิต (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) 

– จ.พระนครศรีอยุธยา – จ.อ่างทอง – จ.สิงห์บุรี(ทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย) 

– อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท(ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) 

จากนั้นก็มุ่งหน้าไป จ.นครสวรรค์ เพื่อขึ้นสู่ภาคเหนือได้เลย 

 

เส้นทางที่ 2 

เริ่มที่กรุงเทพฯไปทาง จ.นนทบุรี(ทางหลวงหมายเลข 340  บางบัวทอง – สุพรรณบุรี)  

– จ.สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340 สุพรรณบุรี-ชัยนาท) 

– จ.ชัยนาท (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน)  

จากนั้นก็มุ่งหน้าไป จ.นครสวรรค์ เพื่อขึ้นสู่ภาคเหนือเหมือนเส้นทางที่ 1 ได้เลย 

 

เส้นทางที่ 3 

เริ่มที่กรุงเทพฯไปทางรังสิต – วิ่งไป อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 

– จ.สระบุรี – จ.ลพบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) 

– อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ (ทางหลวงหมายเลข 11) 

– จากนั้นให้วิ่งไปที่ จ.พิษณุโลก เพื่อขึ้นสู่ภาคเหนือ 

 

เส้นทางที่ 4 

เริ่มที่กรุงเทพฯไปทางรังสิต – ใช้ทางต่างระดับคลองหลวง (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) 

– ใช้ทางเชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา(ทางหลวงหมายเลข 3214) 

– วิ่งทางหลวงหมายเลข 347 ไปทางหลวงหมายเลข 32 เพื่อเข้าสู่ภาคเหนือ

 

เส้นทางที่ 5 

เริ่มที่กรุงเทพฯไปวงแหวนตะวันออก(ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9) 

– ใช้ทางต่างระดับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

– อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา(ทางหลวงหมายเลข 1 ถนน พหลโยธิน) 

– ถนนโรจนะ (ทางหลวงหมายเลข 309) 

– จากนั้นใช้ทางหลวงเลข 32 เพื่อเข้าภาคเหนือ

 

          กรุงเทพฯ ไป ตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)

          ใครที่เดินทางสู่ภาคอีสานจะมีให้เลือกทั้งหมด 4 เส้นทาง  

กรุงเทพไปภาคอีสาน

เส้นทางที่ 1 

เริ่มต้นที่กรุงเทพฯ ไปทาง จ.สระบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) 

– ต.ม่วงค่อม จ.ลพบุรี (ทางหลวงหมายเลข 21) 

– ต.ห้วยบง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี (ทางหลวงหมายเลข 2256) 

– อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 201) 

– อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2148) 

– อ.ขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2068)

– ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

เส้นทางที่ 2 

เริ่มต้นที่กรุงเทพฯไป อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) 

– จ.สระบุรี 

– อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 

– อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา  (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) 

จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

เส้นทางที่ 3 

จากกรุงเทพฯไป จ.นครนายก (ทางหลวงหมายเลข 305) 

– อ.บ้านนา จ.นครนายก (ทางหลวงหมายเลข 3051) 

– อ.แก่งคอย จ.สระบุรี (ทางหลวงหมายเลข 3222) 

– อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) 

จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา หรือจากอ.บ้านนาไร่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 33 มุ่งหน้าสู่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี สู่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว

 

เส้นทางที่ 4 

จากกรุงเทพฯไป จ.ฉะเชิงเทรา (ทางหลวงหมายเลข 314 หรือ ทางหลวงหมายเลข 304) 

– อ.พนมสารคาม  จ.ฉะเชิงเทรา

– อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี 

– อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา 

– อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 304) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

          กรุงเทพฯ ไป ภาคตะวันออก

          ใครที่เดินทางสู่ภาคตะวันออกจะมีให้เลือกทั้งหมด 3 เส้นทาง

กรุงเทพไปภาคตะวันออก  

 

เส้นทางที่ 1 

เริ่มต้นกรุงเทพฯไป จ.ชลบุรี (ใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สาย กรุงเทพฯ – ชลบุรี – พัทยา)

เส้นทางที่ 2 

เริ่มต้นกรุงเทพฯไป อ.บางปะกง (ใช้ทางหลวงหมายเลข 34 ถนนบางนา-ตราด) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดชลบุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท

เส้นทางที่ 3 

เริ่มต้นกรุงเทพฯไป อ.พนัสนิคม – จ.ชลบุรี (ทางหลวงหมายเลข 304)

 

          กรุงเทพฯ ไป ภาคใต้

          ใครที่เดินทางสู่ภาคใต้จะมีให้เลือกทั้งหมด 3 เส้นทาง  

กรุงเทพไปภาคใต้

เส้นทางที่ 1 

จากกรุงเทพฯไป จ.สมุทรสาคร 

– จ.สมุทรสงคราม (ทางหลวงหมายเลข 35) 

– แยกวังมะนาว จ.ราชบุรี 

– จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) 

จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อเข้าสู่ภาคใต้ 

 

เส้นทางที่ 2 

จากกรุงเทพฯไป อ.สามพราน 

– อ.นครชัยศรี  จ.นครปฐม 

– จ.ราชบุรี 

– แยกวังมะนาว จ.ราชบุรี 

– จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

เส้นทางที่ 3 

จากกรุงเทพฯไป ถนนบรมราชชนนี (ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า – นครชัยศรี)

 – อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 

– จ.ราชบุรี 

–  แยกวังมะนาว จ.ราชบุรี  

– จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

          เส้นทางทั้งหมดเป็นเส้นทางที่กรมทางหลวงแนะนำมาเพื่อใช้หลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัด นอกจากนี้แนะนำว่าให้ศึกษาเส้นทางก่อนเดินทาง ตรวจเช็คสภาพรถยนต์ก่อนทุกครั้ง ควรมีเบอร์ฉุกเฉินติดเครื่องเอาไว้ ที่แนะนำก็จะมี 

1586 สายด่วนกรมทางหลวง 

1586 กด 7 สายด่วนมอเตอร์เวย์ 

1193 ตำรวจทางหลวง 

1669 หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน

1677 สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน

และเบอร์ 191 แจ้งเหตุด่วน-เหตุร้าย 100 แจ้งเหตุไฟไหม้-ดับเพลิง 

          ในปีใหม่ไทยนี้ใครที่เดินทางออกต่างจังหวัดเตรียมให้พร้อมทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ รถยนต์ที่เดินทาง คนร่วมทาง คนร่วมเดินทาง มีสติและใจเย็นเสมอ เพราะสถิติในปีที่ผ่านมาแม้จะเป็นช่วงโควิดก็เกิดอุบัติเหตุสูงเช่นกัน   สามารถติดตามข่าวสารข่าวด่วนเพื่อเป็นประโยชต์ต่อการเดินทางได้ที่ ไอ.เอ็น.เอ็น

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

ขอขอบคุณข้อมูล 

กรมทางหลวง

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube