Home
|
ทั่วไป

สรุปวิธีเลื่อนตั๋ว – คืนตั๋ว บขส.

Featured Image

          ในช่วงเทศกาลแบบนี้หลายคนเลือกใช้บริการของบริษัทขนส่ง จำกัด หรือ บขส. เชื่อว่าหลายคนได้จองล่วงหน้าแล้ว แต่ตอนนี้สถานการณ์โควิดเริ่มกลับมาอีกครั้งทำให้หลายคนต้องยกเลิกหรือเลื่อนตั๋วออกไปก่อน วันนี้ ไอ.เอ็น.เอ็น เลยสรุปวิธีเลื่อนตั๋ว คืนตั๋ว บขส. ไว้ให้แล้ว  

          1.เลื่อนและคืนตั๋วได้ที่ไหน 

          ไม่ว่าจะ เลื่อนตั๋วโดยสาร คืนตั๋วโดยสาร สามารถทำได้สองช่องทางคือ 

  • สถานีช่องจำหน่ายตั๋ว บขส. ทั่วประเทศ 
  • ผ่านเว็บไซต์ www.busticket.in.th

          2.วิธีเลื่อนตั๋วโดยสาร

          เลื่อนตั๋วที่ บขส. 

  • ไปที่ช่องจำหน่ายตั๋ว บขส. สามารถไปได้ทุกสถานีทั่วประเทศ
  • ติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่ช่องจำหน่ายตั๋ว 
  • แจ้งรายละเอียดเลื่อนตั๋ว (หลักๆคือวันและเวลาที่เดินทางใหม่)
  • เลื่อนสำเร็จ รอเดินทางตามกำหนดการใหม่ 

          เลื่อนตั๋วผ่านเว็บไซต์ 

  • เข้าเว็บไซต์ www.busticket.in.th
  • คลิก เลื่อนตั๋ว 
  • จะแบ่งเป็นสองกรณีคือ 1.ล็อกอิน เข้าสู่ระบบ 2.ไม่ได้ล็อกอิน เข้าสู่ระบบ 
  • กรณีเข้าสู่ระบบ เลือกเมนูการจองของฉัน-เลือกจัดการการจอง-เลือกเลื่อนตั๋ว-เลือกที่นั่งที่ต้องการเลื่อนตั๋ว-เลือกเที่ยวรถใหม่-เลือกที่นั่งเดินทางใหม่ 
  • กรณีไม่ได้เข้าสู่ระบบ เลือกเมนูเลื่อนตั๋ว-กรอกรหัสการจองและหมายเลขโทรศัพท์-เลือกเลื่อนตั๋ว-เลือกที่นั่งที่ต้องการเลื่อนตั๋ว-เลือกเที่ยวรถใหม่-เลือกที่นั่งเดินทางใหม่ 
  • เมื่อเสร็จสิ้นให้ทำการ พิมพ์ตั๋ว ผ่านเว็บไซต์ และเดินทางตามกำหนดการใหม่ 

          เงื่อนไขและข้อกำหนดในการเลื่อนตั๋วโดยสาร

  • สามารถเลื่อนการเดินทางได้ฟรี 1 ครั้ง ภายใน 30 วัน นับจากวันเดินทาง
  • การเลื่อนตั๋วผ่านเว็บไซต์ ต้องดำเนินการก่อนรถออกไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง และต้องพิมพ์ตั๋วที่เลื่อนผ่านทางเว็บไซต์เท่านั้น
  • การเลื่อนตั๋วที่ บขส. ต้องดำเนินการก่อนรถออกไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง โดยต้องนำตั๋วหรือสลิปชำระเงินไปติดต่อพนักงานขายตั๋ว
  • หากไม่เลื่อนตั๋วภายในระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ถือว่าสละสิทธิ์
  • เมื่อเลื่อนการเดินทางแล้วไม่สามารถคืนตั๋วได้

          3.วิธีการคืนตั๋วโดยสาร

          คืนตั๋วที่ บขส.

  • ไปที่ช่องจำหน่ายตั๋ว บขส. สามารถไปได้ทุกสถานีทั่วประเทศ
  • ติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่ช่องจำหน่ายตั๋ว 
  • แจ้งขอคืนตั๋วโดยสาร
  • รับเงินคืน 

          คืนตั๋วผ่านเว็บไซต์ 

  • เข้าเว็บไซต์ www.busticket.in.th
  • คลิก คืนตั๋ว 
  • จะแบ่งเป็นสองกรณีคือ 1.ล็อกอิน เข้าสู่ระบบ 2.ไม่ได้ล็อกอิน เข้าสู่ระบบ 
  • กรณีเข้าสู่ระบบ เลือกเมนูการจองของฉัน-เลือกจัดการการจอง-เลือกคืนตั๋ว-เลือกที่นั่งที่ต้องการคืนตั๋ว-กรอกข้อมูลบัญชีธนาคารที่ต้องการรับเงินคืน-ยืนยันรหัส OTP ผ่านทาง SMS หรือ E-mail
  • กรณีไม่ได้เข้าสู่ระบบ เลือกเมนูการคืนตั๋ว-กรอกรหัสการจองและหมายเลขโทรศัพท์-เลือกคืนตั๋ว-เลือกที่นั่งที่ต้องการคืนตั๋ว-กรอกข้อมูลบัญชีธนาคารที่ต้องการรับเงินคืน-ยืนยันรหัส OTP ผ่านทาง SMS หรือ E-mail 
  • รอรับเงินคืน ผ่านบัญชีธนาคาร (รอประมาณ 3-5 วันทำการ) หรือ บัตรเครดิต (รอประมาณ 2-4 สัปดาห์) 

          เงื่อนไขและข้อกำหนดในการคืนตั๋วโดยสาร

  • การคืนตั๋วผ่านเว็บไซต์ ต้องดำเนินการก่อนรถออกไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง
  • การคืนตั๋วที่ บขส. ต้องดำเนินการก่อนรถออกไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง โดยต้อง นำตั๋วหรือสลิปชำระเงิน ไปติดต่อพนักงานขายตั๋ว
  • หากไม่คืนตั๋วภายในระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ถือว่าสละสิทธิ์
  • หักค่าธรรมเนียมการคืนตั๋ว 10% จากอัตราค่าโดยสาร และ คิดค่าธรรมเนียมการโอนเงิน 30 บาท/ครั้ง

          ล่าสุดมีประกาศจากหลายหน่วยงานเช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย ว่าสามารถคืนตั๋วได้เต็มราคาค่าโดยสาร สามารถติดต่อขอคืนเงินได้เป็นกรณีพิเศษ และยังมีประกาศจากกระทรวงคมนาคมให้หน่วยบริการขนส่งต่างๆพิจารณาปรับเพิ่มมาตรการอนุญาตให้ คืนตั๋วโดยสาร โดยไม่หักค่าใช้จ่ายภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 พร้อมมาตรการดูแลผู้ที่จะเดินทางอย่างเข้มงวด ซึ่งต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานต่างๆต่อไป

          ทุกครั้งที่จะทำการเลื่อนตั๋วหรือคืนตั๋วแนะนำอ่านและทำตามทุกขั้นตอนให้ละเอียดหรือหากมีข้อสงสัยให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเราเอง นอกจากนี้ใครที่ใช้ ม33 ซื้อตั๋วบขส. จะไม่สามารถขอคืนตั๋วเป็นเงินได้ แต่สามารถเลื่อนการเดินทางได้ ติดตามเทคนิค สรุปง่ายๆแบบนี้ได้ที่ ไอ.เอ็น.เอ็น 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

ขอขอบคุณข้อมูล 

busticket

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube