จ่อสอบเหล็กเส้นสร้างตึกสตง.ตกค่ามาตรฐานหรือไม่

โฆษก ก.อุตสาหกรรม จ่อ ตรวจสอบเหล็กเส้นตกค่ามาตรฐาน ทำให้ ตึก สตง.ถล่ม ยัน หากพบ ว่าผิดกฎหมาย จะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
วันนี้ (10 เม.ย 68) เวลา 10.00 น. ที่ กระทรวงอุตสาหกรรม แถลงข่าว การดำเนินการตรวจสอบเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้าง อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทำให้ตึกถล่ม และทำให้มีผู้เสียชีวิต สูญหาย บาดเจ็บ นำโดย นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวง ร่วมกับอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิโรจน์ โรจน์วัฒนชัย ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้า แห่งประเทศไทย นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นางวิรงรอง พรพิมลเทพ ผู้อำนวยการกองกฎหมายสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ กล่าวว่า ตลอดระยะช่วงเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2567 จนถึงเดือนมีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ทีมทีมสุดซอยของกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการยึดอายัดเหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ที่ไม่ได้มาตรฐานจากโรงงานผู้ผลิตในจังหวัดชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี นครราชสีมา และสระแก้ว จำนวนเจ็ดรายซึ่งเป็นโรงงานรวมทุนกับต่างชาติ 4 ราย และโรงงานไทย 3 ราย รวมมูลค่ายึดอายัด 331,413,115 บาท
และสำหรับกรณีที่ปรากฏว่า สมอ. ได้ต่ออายุใบอนุญาต มอก. ให้กับ บริษัท ซินเคอหยวน สติล จำกัด เมื่อเดือนมกราคม 2568 ที่ผ่านมาขอยืนยันอีกครั้งว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องโดยข้อเท็จจริงคือบริษัทดังกล่าวปัจจุบันยังถูกแจ้งเตือนก่อนสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา 40 กรณีเป็นไปตามมาตรฐานห้ามผลิต ห้ามจำหน่าย สินค้าเหล็กเส้นที่ทดสอบไม่ผ่านมาตรฐาน ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ตามการยืนยันของ สมอ. ซึ่งสินค้าไม่ได้มีการต่ออายุใบอนุญาต มอก. ตามที่ปรากฏเผยแพร่ บนโลกออนไลน์
จึงได้กำหนดเรียงลำดับหน่วยงานต่างๆที่จะเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ โดยคิวแรก เป็นของกรมโยธาธิการ และผังเมือง ซึ่ง สมอ. มีกำหนด จะเข้าไปเก็บตัวอย่างเหล็กในที่เกิดเหตุเพิ่มเติม ในวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 นี้ และจะนำเหล็ก ที่อยู่ที่เกิดเหตุ มาตรวจสอบพร้อมยืนยันว่าเหล็กที่จะนำมาต้องเป็นเหล็กที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพื่อมาตรวจสอบ ว่าเหล็กดังกล่าวมีคุณภาพจริงหรือไม่หรือมีส่วนผสมเจือปนจากวัตถุอื่นๆ
ผู้สื่อข่าว จึงได้สอบถามว่า ถ้าเหล็กมีการบิดเบี้ยว จะสามารถนำมาตรวจสอบได้หรือไม่ นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ บอกว่า ถ้าเกิดเหล็กบิดเบี้ยวเราก็จะนำมาดัดแปลงให้กลับมาสู่สภาพเดิมให้ตรวจสอบง่ายง่ายที่สุด และจะร่วมมือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อหาหารือแนวทางการวางแผนในการรวบรวมพยานหลักฐาน
หลังจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะบูรณาการแลกเปลี่ยนและสนับสนุนข้อมูลเพื่อเอาผิดกับโรงงานผลิตเหล็กดังกล่าวตามกฏหมายของแต่ละหน่วยงาน ซึ่ง DSI สามารถรับเป็นกรณีพิเศษได้ เนื่องจากมีความซับซ้อนและกระทบต่อระบบเศรษฐกิจภาพรวม กรณีนี้นำเป็นต้นแบบของการทำงานของหน่วยงานรัฐเพื่อเพื่อสู้กับธุรกิจ ศูนย์เหรียญในประเทศไทย และกระทรวงอุตสาหกรรมจะดำเนินการกับโรงงานดังกล่าวตามกฏหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างเต็มที่หากตรวจสอบพบมีการกระทำผิดกฏหมายข้อใดก็ตามก็จะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews