“พีระพันธุ์”ขอให้วางใจประมูลไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

“พีระพันธุ์” แจง ปมโครงการประมูลไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 5,200 เมกะวัตต์ เพื่อพลังงานที่มั่นคงของประเทศ ดำเนินการตามกฎหมาย พบผิดสามารถยกเลิกสัญญาได้ทันที
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่อง การเซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนั้น เป็นเรื่องที่ฝ่ายค้านได้ตั้งกระทู้ถามในสภาเมื่อเดือนที่ผ่านมา และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ตอบไปอย่างครบถ้วนแล้ว
โดยโครงการประมูลดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2565 ในรัฐบาลที่ผ่านมา ในรอบแรกมีการประมูลขนาด 5,200 เมกะวัตต์ ซึ่งหลังจากการประมูลเสร็จสิ้น ผู้ที่ไม่ได้รับคัดเลือกได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่สามารถเซ็นสัญญาได้ แต่ล่าสุด ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยยกฟ้องทุกกรณีแล้ว จึงไม่มีข้อกฎหมายใดเป็นอุปสรรคต่อการลงนามในสัญญาอีกต่อไป และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จึงเริ่มทยอยดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ยังมีเงื่อนไขกำหนดให้ กฟผ.ต้องลงนามในสัญญาภายในสอง 2 ปี โดยในส่วนของไฟฟ้าจากแสงแดดจะครบกำหนดในวันที่ 18 เมษายน 2568 ส่วนพลังลมครบกำหนดภายในปี 2569
สำหรับการซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจำนวน 5,200 เมกกะวัตต์ ในเฟสแรกนั้น มีการประมูลที่ 4,852 เมกกะวัตต์ มีสัญญาทั้งสิ้น 175 ฉบับ มีโครงการ ที่ กฟผ.เกี่ยวข้อง 83 โครงการ และเซ็นสัญญาแล้ว 67 โครงการ โดยเป็นการดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2565 และทางกฤษฎีกาได้ให้ข้อเสนอแนะว่า เนื่องจากมีการเซ็นลงนามสัญญาไปแล้วหากยกเลิกหรือชะลอการเซ็นลงนามสัญญาส่วนที่เหลืออาจจะทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมาย
ในส่วนของ 16 โครงการที่ยังไม่ได้ลงนามนั้น หากจะหยุดกระบวนการทันที จะทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมาย เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนที่มีการดำเนินการล่วงหน้าแล้ว และ กฤษฎีกาได้แนะนำให้ กฟผ. ใส่เงื่อนไขในสัญญาเพิ่มเติมว่า หากภายหลังพบว่าการประมูลมีปัญหาทางกฎหมายหรือผิดขั้นตอนใด ๆ ก็สามารถยกเลิกสัญญาได้ โดยไม่ต้องรอให้ครบสัญญา 25 ปี
ดังนั้น ทั้ง 3 สัญญาที่ลงนามไปเมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา จึงได้มีการดำเนินการตามเงื่อนไขที่ต้องลงนามในสัญญาภายใน 2 ปีและมีการปรับเงื่อนไขของสัญญาตามคำแนะนำของกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว ขอให้วางใจได้
ขอให้มั่นใจว่าการเซ็นสัญญาครั้งนี้จะไม่เป็นข้อผูกมัดไป 25 ปี เพราะสามารถยกเลิกสัญญาได้ทันที หากพบว่ามีการกระทำผิด
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดโดย กกพ. ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 และรัฐมนตรีพลังงานไม่มีอำนาจใน กกพ. เลย ส่วน กฟผ. นั้น รัฐมนตรีพลังงานมีอำนาจแค่กำกับ จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญในเชิงโครงสร้างที่ต้องมีการแก้ไข
ซึ่งนายพีระพันธุ์ ระบุชัดว่า หนึ่งในอุปสรรคใหญ่ของการปฏิรูปพลังงาน คือ ปัญหากฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกฎหมายพลังงาน ที่มีอยู่จำกัดอำนาจรัฐมนตรีในการกำกับดูแลอย่างแท้จริง รัฐบาลจึงอยู่ระหว่างการเร่งแก้ไขกฎหมายเหล่านี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่เปิดช่องให้เกิดการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนใด ๆ ในอนาคต
ขอให้มั่นใจว่าการเซ็นสัญญาครั้งนี้จะไม่เป็นข้อผูกมัดไป 25 ปี เพราะสามารถยกเลิกสัญญาได้ทันที หากพบว่ามีการกระทำผิด
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แต่เป็นเงื่อนไขที่กำหนดโดย กกพ. ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 และรัฐมนตรีพลังงานไม่มีอำนาจใน กกพ. เลย ส่วน กฟผ. นั้น รัฐมนตรีพลังงานมีอำนาจแค่กำกับ จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญในเชิงโครงสร้างที่ต้องมีการแก้ไข
ซึ่งนายพีระพันธุ์ ระบุชัดว่า หนึ่งในอุปสรรคใหญ่ของการปฏิรูปพลังงาน คือ ปัญหากฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกฎหมายพลังงาน ที่มีอยู่จำกัดอำนาจรัฐมนตรีในการกำกับดูแลอย่างแท้จริง รัฐบาลจึงอยู่ระหว่างการเร่งแก้ไขกฎหมายเหล่านี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่เปิดช่องให้เกิดการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนใด ๆ ในอนาคต
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
acebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews