ครม. รับทราบผลการศึกษา การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ดึงเอกชนร่วมลงทุนในพื้นที่เรือนจำต้นแบบ แก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำสร้างอาชีพ สร้างความมั่นคงด้านแรงงานให้แก่ผู้ประกอบการด้วย
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ตามที่กระทรวงยุติธรรมได้ทำการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมฯ โดยผลการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ เพื่อฝึกทักษะอาชีพ พัฒนายกระดับฝีมือแรงงานและสร้างผู้พ้นโทษให้เป็นผู้ประกอบการรายใหม่และเป็นการสร้างอาชีพในอนาคตเพื่อลดจำนวนอัตราการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้พ้นโทษและผู้อยู่ระหว่างพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษ
แนวทาง การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมภายนอกเรือนจำโดยร่วมกับ กนอ. (ที่ราชพัสดุของหน่วยงานอื่น) การจัดตั้งนิคมฯ ภายในพื้นที่เรือนจำ (ที่ราชพัสดุของกรมราชทัณฑ์) และ การใช้พื้นที่เอกชนเป็นนิคมฯ หากยังมีพื้นที่ว่างที่ยังเหลืออยู่ โดยมีพื้นที่นำร่องต้นแบบ 4 แห่ง ได้แก่ เรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร (เรือนจำชั่วคราวบางหญ้าแพรก เรือนจำกลางชลบุรี (เรือนจำชั่วคราวบ้านบึง) เรือนจำกลางสมุทรปราการ (เรือนจำชั่วคราวคลองด่าน) และเรือนจำกลางระยอง (เรือนจำชั่วคราวเขาไม้แก้ว) โดยภาครัฐจะให้การสนับสนุนคัดเลือกผู้ประกอบธุรกิจที่เน้นนวัตกรรม แรงงานใช้ฝีมือและรูปแบบธุรกิจที่ทันสมัย พร้อมให้สิทธิประโยชน์ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจของภาคธุรกิจในการร่วมลงทุนแก่ผู้ประกอบการภาคเอกชน
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม ครม. มอบหมายให้ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคมฯ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ต้นทุน ผลประโยชน์ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า แนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้พ้นโทษ สร้างอาชีพในอนาคต โดย ยธ. ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาและส่งผู้ที่ได้รับการพักการลงโทษเข้าไปทำงานในสถานประกอบการให้ได้จำนวน 16,000 คน/ปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ภาครัฐจะต้องใช้ในการดูแลผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำ เฉลี่ย 21,000 บาท/คน/ปี จะทำให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณที่ใช้ดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำประมาณ 336 ล้านบาท/ปี ทั้งนี้ ยังสร้างความมั่นคงทางแรงงานให้แก่ผู้ประกอบการด้วย
นายกฯ เมินปม”ทักษิณ” ยกมือไหว้ขอให้ลาออก บอกแล้วแต่จะพูด ให้คนไทยเรียนรู้จากอดีต เผยคุย “อนุทิน” แล้วปมตั้งผอ.ศบค.ส่วนหน้า ปัดเคลียร์ใจ “ธรรมนัส” ซ้ำ ยันทำงานกีบพปรช.-ส.ส. ต่อ
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามผู้สื่อข่าว แทนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมถึงกรณีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและจัดกิจกรรมช่วงปีใหม่ ว่า นายกฯ กำลังพิจารณาร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงความคุ้มค่าและเหมาะสมในการจัดกิจกรรมของรัฐ และรัฐจะร่วมกับเอกชน ว่า
ส่วนการทำความเข้าใจกับพรรคภูมิใจไทย ในการตั้ง ผอ.ศบค.ส่วนหน้า นายธนกร กล่าวว่า นายกฯ ชี้แจงว่าได้มีการทำความเข้าใจกับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหมดหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยไปแล้ว ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามพ.ร.บ. ควบคุมโรค และมาตรการ ของสาธารณสุข
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่านายกรัฐมนตรีได้มีการเคลียร์ใจกับร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ อีกครั้งนั้น จนถึงตอนนี้ยืนยันว่าไม่มีความขัดแย้งกัน ใช่หรือไม่ นายธนากร กล่าวว่า นายกรัฐมนตร ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องเคลียร์ใจกับใคร ยังคงทำงานอยู่กับพรรคพลังประชารัฐและส.ส.
ขณะที่กรณีสัปดาห์ก่อน นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมายกมือไหว้ ขอให้พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก มองอย่างไรถึงการออกมาเคลื่อไหว นายธนากร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่าแล้วแต่จะพูดซึ่งคนไทยต้องเรียนรู้จากอดีต ว่าเกิดอะไรขึ้น
นายกฯ ปัดรวบอำนาจ ตั้ง ศบค. ส่วนหน้า พร้อมสั่งสำรวจพื้นที่น้ำลด เร่งเยียวยาพื้นที่เสียหาย ขณะที่นายกรัฐมนตรีเรียกรมต.ที่เกี่ยวข้อง ถกเครียด หลังราคาน้ำมันดีดตัว
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงข้อสั่งการของพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า นายกรัฐมนตรีห่วงใย การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด -19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเป็นเหตุผลหลักในการจัดตั้งศบค. ส่วนหน้า พร้อมกับยืนยันว่าไม่ได้เป็นการรวบอำนาจ เน้นการทำงานบูรณาการร่วมกัน เนื่องจากทุกหน่วยต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว
ขณะเดียวกัน ต้องเร่งสำรวจพื้นที่น้ำลด เพื่อช่วยเหลือเยียวยา ประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัย เนื่องจากมีหลายพื้นที่น้ำเริ่มลดระดับลงแล้ว นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังขอให้มีการกักเก็บน้ำในพื้นที่แก้มลิง โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนเตรียมความพร้อมเครื่องมือในพื้นที่ โดยคาดการณ์ว่าจะมีมวลน้ำจำนวนหนึ่งลงมายังพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและภาคใต้เป็นต้น
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังเป็นห่วงเรื่องปัญหาพลังงาน และราคาสินค้าโดยแนวโน้มราคาพลังงานของโลก มีทิศทางขาขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มปัจจัยหลายอย่าง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจ ขณะเดียวกันกองทุนพลังงานก็มีจำกัด โดยนายกรัฐมนตรีได้เชิญรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าหารือ เพื่อดูแลราคาพลังงานให้เกิดความเหมาะสม รวมทั้งให้ทุกหน่วยงานดูแลราคาสินค้า ป้องกันการใช้โอกาสขึ้นราคาแบบไม่สัมพันธ์
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news