“สว.เลิศรัตน์”อภิปรายแก้รธน.ยกหลักการมี2สภา
“สว.เลิศรัตน์” ยกหลักการระบบรัฐสภา แจงประโยชน์การมี 2 สภา ชี้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 40 ก็บัญญัติให้มี สว.
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกรัฐสภา เป็น สว. คนแรกที่อภิปรายร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ต่อที่ประชุมรัฐสภา ว่า ข้อเสนอให้มีสภาเดียวเป็นฉบับที่ให้อำนาจล้นฟ้า แก่ ส.ส.พร้อม ระบุ การมี 2 สภา เพื่อที่จะให้สภาสูงสามารถยับยั้งกฎหมายสภาล่างได้ โดยยกตัวอย่างสมัยเป็น สว. ปี 51 ก็เคยมีการยับยั้งกฎหมายและที่สุดสภาผู้แทนราษฎรก็เห็นด้วยตามวุฒิสภา
ซึ่งการกำหนดเช่นนี้ จะทำให้ไม่เกิดลักษณะการมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ดังนั้น จึงขอเน้นย้ำเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลในสภานิติบัญญัติ แต่เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเพราะเชื่อว่าตอนนี้จะมีประชาชนที่เสนอกฎหมายกำลังรับฟังการอภิปราย ของสมาชิกวุฒิสภาด้วย ความตั้งอกตั้งใจ
สำหรับภาพรวมระบบรัฐสภา มี 2 แบบ คือ สภาเดียวและสภาคู่ โดยสภาเดียวมักพบเห็นในประเทศที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้สภานั้นสามารถวางนโยบายในการบริหารประเทศได้ เพราะทำหน้าที่เป็นสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชน ขณะ ระบบรัฐสภาที่มีสองสภา จะมีกลไก คือให้สภาล่างทำหน้าที่ในการตราและบัญญัติกฎหมาย และสภาสูงทำหน้าที่ในการถ่วงดุลตรวจสอบและกลั่นกรองอีกฉันชั้น จึงมีข้อพิจารณาของระบบสภาเดียวว่า อาจเกิดการตรา และบังคับใช้กฏหมายได้ตามอำเภอใจ ส่วนระบบ 2 สภาก็จะทำให้สภาที่ 2 ทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อไม่ให้การบัญญัติกฎหมายเป็นไปโดยรีบร้อน ขาดความรอบคอบ นอกจากนี้ สภาที่สองทำหน้าที่ในการส่งผ่านอำนาจของสภาที่หนึ่ง เพื่อป้องกันการใช้อำนาจหรือไม่เหมาะสม
ทั้งนี้ หลังนำเสนอหลักการระบบรัฐสภา พล.อ.เลิศรัตน์ ได้หยิบยกตัวอย่างรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ นำขึ้นมาอภิปรายเช่นรัฐธรรมนูญฉบับ 2489 ซึ่งขณะนั้นกำหนดให้มีวุฒิสภาเรียกว่าพฤฒิสภา จำนวน 80 คน จากนั้น ฉบับปี 2492 ก็กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 100 คนที่มาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง พร้อมกันนี้ ได้ยกตัวอย่างถึงปี 2540ได้ชื่อว่าเป็นฉบับประชาชน ก็กำหนดให้มี 2 สภาเช่นกัน
พร้อมกันนี้ พลเอกเลิศรัตน์ ยังกล่าวถึงรัฐธรรมนูญปี 60 มีการกำหนดจำนวนและที่มา ซึ่งผู้ร่างก็ได้พยามคิดแล้วว่า จะมีที่มาของการทำหน้าที่ในการยับยั้งกลั่นกรอง กฎหมายได้ระดับหนึ่งเห็นได้จากการกำหนดให้มีการเลือกกันเองตั้งแต่ระดับอำเภอจังหวัดและประเทศโดยแบ่งเป็น 20 กลุ่มอาชีพกลุ่มละ 10 คนซึ่งการให้เลือกกันเองตนเห็นว่าเป็นวิธีที่คนข้างยากที่จะมีการกำหนดหรือล็อบบี้ได้ จึงขอให้ประชาชนที่เสนอกฎหมายได้เห็นถึงประโยชน์ของการมีสูงด้วย
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news