Home
|
ข่าว

ควรประเมิน”โอไมครอน”ขั้นเลวร้ายที่สุดเพื่อรับมือ

Featured Image
“หมอธีรวัฒน์” เตือน รับมือ “โอไมครอน” ควรประเมินสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เพื่อเตรียมพร้อมแต่เนิ่นๆ ชี้มีการยกระดับการแพร่กระจายได้เร็ว

 

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก ว่า การรับมือโรคอุบัติใหม่คือการประเมินสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เพื่อที่จะเตรียมรับมือแต่เนิ่นๆ ถ้าไม่เลวร้ายก็ไม่เป็นไร

 

โอไมครอน มีการยกระดับการแพร่กระจายได้เร็วในประเทศแอฟริกาใต้และจากที่สงบ เริ่มเห็นมีการระบาดใหม่จากตัวนี้เอง และต่อมาเริ่มเห็นอาการหนักประกอบกับโครงสร้างมีการปรับเปลี่ยนในหลายท่อนของรหัสพันธุกรรมที่ทำให้ติดง่ายแพร่กระจายและอาจรวมไปถึงการดื้อต่อภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติและที่ได้จากวัคซีนทั้งนี้ จะเห็นจากประเทศที่มีการติดเชื้อจะมีผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์หรืออื่นๆครบแล้ว

 

การไม่พบอาการหนักมาก เป็นลักษณะปกติของไวรัสโควิดที่ผ่านมาสองปีโดยไม่มีอาการมากถึง 80 กว่า% และจะค่อยๆเริ่มเห็นอาการจนอาการหนักในกลุ่มที่เหลือดังนั้น เมื่อมีการติดเชื้อแพร่เป็นหลาย 1,000 คนหลาย 10,000 คน จะเริ่มเห็นผู้ที่มีอาการมากขึ้นตามสัดส่วน

 

ขณะองค์การอนามัยโลกจัดเป็นกลุ่มไวรัสที่”ต้องกังวล และให้ความใส่ใจ variant of concern ความจำเป็นรีบด่วนของการตรวจพีซีอาร์ แบบครอบคลุม(broad spectrum PCR )จากการที่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกมีระดับการควบคุมการติดเชื้อไม่เท่ากัน ทำให้มีการ ผันแปรของรหัสพันธุกรรมมากขึ้นเรื่อยๆและผลกระทบก็คือทำให้สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกัน ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่กระตุ้นจากวัคซีนได้ ทำให้เกิดมีการติดการเพิ่มจำนวน และการแพร่เชื้อได้รุนแรงขึ้นและอาจหมายถึงอาการที่หนักขึ้นด้วย

 

ผลกระทบที่สำคัญอีกประการก็คือ หลบหลีกการตรวจด้วยพีซีอาร์ซึ่งถือเป็นกระบวนการมาตรฐาน ทั้งนี้ ไวรัสในกลุ่ม omicron (29/11/64) มี aminoacid mutations 42 และ deletion 16 และ มี nucleotide mutation 50 ตำแหน่ง กระจายอยู่ในท่อนยีนส์ต่างๆของไวรัส

 

ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาได้ทำการพัฒนาชุดตรวจครอบคลุม ไวรัสทุกกลุ่มที่จัดเป็น variants of concern (VOC) ทั้ง alpha beta gamma delta และ omicron

โดยการบรรจุส่วนของรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิดที่ไม่มีความผันแปร (conserved) เข้ากับการตรวจอีกสามยีนส์ (orf1ab N และ E)

ทั้งนี้ ได้ทำการทดสอบชุดตรวจกับ VOC ต่างๆ ที่มีตัวอย่างและได้ทำ whole genome และ spike sequence แล้ว และตัวอย่างที่ไม่ได้ระบุ เป็นจำนวน = 592 ตัวอย่าง

โดยเป็น alpha = 21 beta = 2 delta = 8 และ B.1.36.16 จากสมุทรสาครและปทุมธานี = 30
B.1.1.41 = 2
B.1.36. = 3
B.1.275 = 2
B.1.158. = 2
B.1.189. = 1
B.1.4662 = 1
C. 36. = 1
และ ตัวที่ไม่ได้ระบุกลุ่ม = 519
และ ตรวจทานกับข้อมูลชีวสารสนเทศ (GISAID) เป็นจำนวน = 4,226,047
Omicron = 142
Delta = 2,927,531
Alpha= 1,144,006
Beta = 38,656
Gamma = 115,712

 

 

ผลที่คาด

1.เป็นหลักประกันของการตรวจที่ไม่เกิดการหลุดรอด

2.สามารถ ชี้ได้ว่าตัวอย่างดังกล่าวอาจเป็นไวรัสในกลุ่มผิดเพี้ยนออกไป ทั้งนี้ โดย
ถ้าได้ผลบวก เพียง 1 ยีนส์ ที่conserve โดย ยีนส์อื่นๆ ตรวจไม่พบทั้งหมดหรือพบบางตัว หรือ จำนวนปริมาณของที่ตรวจในแต่ละยีนส์มีความแตกต่างกันมาก

3.จากนั้นสามารถนำมาตรวจ รหัสพันธุกรรมทั้งตัวได้

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube