“ไพบูลย์” แฉ 7 ส.ส.ขาดโหวตเดือนเดียว 70 ครั้ง พบหัวหน้าภูมิใจไทย ติด 1ใน 7 พร้อมเหน็บ ส.ส. เพื่อไทย รับเงินเดือนเป็นแสนไม่ยอมทำหน้าที่ ก็ควรลาออก
นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ นำเอกสารรายงาน ผลการติดตามการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรายบุคคล มาแสดง ซึ่งการลงมติ ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่สองกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต ซึ่งเป็นวันที่ องค์ประชุมไม่ครบ พบว่าพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสอสอ 131 คนแต่มาลงมติเพียง 14 คนเท่านั้นคิดเป็นร้อยละ 10.69 ขณะที่ สส. พรรคก้าวไกล มี 52 คน เข้าประชุมลงมติถึง 42 คน คิดเป็นร้อยละ 80.77 ฝั่งรัฐบาลพรรคพลังประชารัฐมี ส.ส.เข้าร่วมลงมติมากที่สุดถึง 83 คน รองลงมาเป็นพรรคภูมิใจไทย 37คน และพรรคประชาธิปัตย์ 29 คนตามลำดับ
สำหรับรายงานการลงมติในเดือนธันวาคม 2564 มีการลงมติถึง 70 ครั้ง พบว่ามีสมาชิก 7 คน ที่ไม่เคยลงมติเลยแม้แต่ครั้งเดียว ประกอบด้วย นายชูศักดิ์ แอกทอง พรรคเพื่อไทย,นายพานุวัฒน์ สะสมทรัพย์ พรรคชาติไทยพัฒนา,นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกต พรรคเพื่อชาติ, นายสุชาติ ตันเจริญ พรรคพลังประชารัฐ, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พรรคเสรีรวมไทย,น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคเพื่อไทย และนายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบ พบว่ามีรัฐมนตรีหลายคนที่มาลงมติเพียงครั้งเดียว จาก 70 ครั้งในเดือนธันวาคม ทั้งนายวราวุธ ศิลปอาชารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ส่วนนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์มาลงมติเพียง 3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ นายไพบูลย์ กล่าวว่า มีสมาชิกหลายคนบอกว่าพยายาม อ้างว่า การไม่เข้าร่วมประชุมเป็นการกดดันให้รัฐบาลประกาศยุบสภา เป็นความเข้าใจผิดของสมาชิก หาก สส. ไม่อยากประชุม แสดงว่าไม่อยากเป็น สส. ก็ควรลาออก ดีกว่าเรียกร้องให้ยุบสภา”รสนา” มองไทม์ไลน์เลือกตั้งผู้ว่า กทม.เดือนพฤษภาคมนี้ เหมาะสมแล้ว ยันพร้อมทำการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
นางสาวรสนา โตสิตระกูล ว่าที่ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. มองว่า การกำหนดไทม์ไลน์ เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ช่วงเดือนพฤษภาคมถือว่าเหมาะสม เพราะที่ผ่านมาเป็นโรคเลื่อนมานาน จึงหวังว่ารัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งส่วนตัวมีความพร้อม เพราะเป็นคนทำงานการเมืองของประชาชนเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ไม่ได้หาเสียงโดยตรงแต่ทำ ในเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก อย่างเช่นในขณะนี้กำลังดำเนินการตรวจสอบบ่อขยะของ กทม. ที่อ่อนนุช ซึ่งหากได้รับโอกาสจะจัดการเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะเรื่องนโยบายของ กทม. ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน สิ่งเหล่านี้ต้องไม่มีเกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพชีวิต และที่ผ่านมางบประมาณส่วนใหญ่จะไปลงกับโครงสร้างขนาดใหญ่สวนทางกับมิติสังคมเช่น งบการศึกษา
ขณะเดียวกัน นางสาวรสนา กล่าวว่า หลักคิดของผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่จะต้องเป็นหัวหน้าแม่บ้านทำเพื่อชาวบ้านคือประชาชนชาว กทม. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม และแนวนโยบายจะไม่ใช่เป็นนโยบายเสื้อโหลหรือเป็นการกำหนดนโยบายเหมือนๆ กัน แต่จะคำนึงถึงอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ด้วย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การเลือกตั้งซ่อมส.ส. เขต9 หลักสี่- จตุจักร ไม่ใช่สนามวัดพลังคะแนนความนิยมถึงสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เพราะคนกทม. มักไม่เลือกผู้ว่าฯ ที่มาจากพรรคเดียวกันกับพรรครัฐบาล ดังนั้นผลการเลือกตั้งซ่อมหลักสี่คงไม่ได้บ่งชี้ถึงความนิยมของชาวกทม. ทั้งนี้ ยอมรับว่า อาจมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองยุบสภา และมีการเลือกตั้งใหญ่ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ แต่หากมีการยุบสภาก่อนที่กฎหมายลูกจะแล้วเสร็จ อาจเกิดความวุ่นวายขึ้นได้
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews