“ชลน่าน”รับพท.เห็นต่างร่างกม.ลูกแค่หมายเลขผู้สมัคร
“ชลน่าน”รับ เพื่อไทยเห็นต่าง ร่างกฏหมายลูก 2 ฉบับที่รับหลักการมาแค่ หมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้ง คำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อหนุนนำคะแนนทั้งประเทศหารด้วย 100
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง 2 ฉบับ กล่าวถึงการประชุม กมธ.ในวันนี้ ว่าหลัง ส.ส.เพื่อไทยหารือในรายละเอียด และสาระสำคัญที่เห็นต่อร่างกฎหมายว่าด้วยการเมืองตั้ง ส.ส. ร่างที่รับหลักการมา เห็นต่างเฉพาะเรื่องการให้หมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ส่วนสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อชั้นรับหลักการไม่มีความเห็นต่าง คือคำนวนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเขียนชัดว่าการการคำนวณสัดส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อให้ใช้คะแนนรวมของพรรคการเมืองทั้งประเทศมาเป็นตัวตั้งหารด้วย 100 แล้วคำนวณเป็นสัดส่วนสัมพันธ์โดยตรงให้แต่ละพรรคการเมืองที่ได้รับ ซึ่งร่างที่รับมานั้นไม่แตกต่างกัน
และการแปรญัตติถือเป็นเรื่องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือกรรมาธิการจะเสนอความเห็นแก้ไขเป็นอย่างอื่นก็เป็นเรื่องของกรรมาธิการ ซึ่งมีหลายครั้งที่กรรมาธิการไม่รับพิจารณาด้วยเพราะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หากรับมาก็มาโหวตกันเสียงข้างมากข้างน้อยว่ากันไป
สำหรับกรณีที่รัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 93 และ 94 บัญญัติข้อความ ส.ส.พึงมีนั้น จะส่งผลหรือกลายเป็นอุปสรรคในการจัดทำกฎหมายลูกหรือไม่ ตนเห็นว่าในชั้นกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ถกเรื่องนี้เยอะมาก แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการเลือกตั้งใหม่
นอกจากนั้นยังกล่าวแสดงความมั่นใจว่ารางกฎหมายลูกจะผ่านวาระ 2-3 ได้ เพราะไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะทำให้ไม่ผ่าน เว้นแต่มีเหตุผลทางการเมืองที่จ้องจะล้ม ต้องใช้กลไกสภาฯ แต่เหตุผลนั้นชอบด้วยเหตุและผลหรือไม่เป็นสิ่งที่ประชาชนจับตาดู แต่เชื่อว่าระบบรัฐสภาไม่กล้าทำอะไรที่ไปหักหาญอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย อาจทำให้กลไกการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขระบบรัฐสภาล้มเหลวได้ ดังนั้นคนกลุ่มนี้ต้องคิดหนักว่าต้องรักษาระบบอย่างไร อีกฝ่ายจ้องยึดอาจใช้เป็นเงื่อนไขในการฮุบอำนาจไปอีก ต้องระวัง
ทั้งนี้การพิจารณาของกรรมาธิการทุกวันพุธจะพิจารณาร่างกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง และวันพฤหัสบดีจะพิจารณากฎหมายลูกว่าด้วยพรรคการเมือง คู่ขนานกันไป แนวโน้มร่างกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองจะเสร็จก่อน เพราะมีจำนวนมากตราที่น้อยเพียง 13 มาตรา และวางไทม์ไลน์พิจารณา 2 เดือนมีนาคมและเมษายนฉบับละ 8 ครั้ง หากไม่ทันก็ขยายเวลาไป
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews