Home
|
ข่าว

ทอ.แจงเหตุจำเป็นต้องจัดซื้อ F-35 A ยกระดับกองทัพ

Featured Image
ทอ.แจงเหตุจำเป็นต้องจัดซื้อ F-35 A ยกระดับกองทัพให้มีคุณภาพ มีขีดความสามารถ-ปกป้องอธิปไตย รับมือภัยคุกคามต่าง ๆ ด้วยเหตุการเมือง-ความมั่นคงในภูมิภาคมีความทับซ้อน

 

พล.อ.ต.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ แจงถึงผลกระทบกรณีการเลื่อนโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน หลังจาก กมธ.แจงตัดงบประมาณจัดซื้อ “F-35 A” ว่า ในปัจจุบันกองทัพอากาศมีเครื่องบินขับไล่โจมตี จํานวน 5 ฝูงบิน ซึ่งกองทัพอากาศ ได้ดําเนินการปรับปรุง ขีดความสามารถของอากาศยานที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถดํารงขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจเอาไว้ แต่ เนื่องจากข้อจํากัดด้านอายุของอากาศยานมีผลต่อขีดความสามารถของอากาศยานที่ลดลง ข้อจํากัดการส่งกําลัง และซ่อมบํารุงที่มีราคาสูงขึ้น รวมทั้งมีระยะเวลาในการจัดหาพัสดุอะไหล่ที่ยาวนาน ส่งผลให้กองทัพอากาศมีความ จําเป็นที่จะต้องทยอยปลดประจําการอากาศยานประเภทเครื่องบินขับไล่โจมตีจาก 5 ฝูงบิน จนเหลือ 2 ฝูงบิน ในปี พ.ศ.2575 โดยกองทัพอากาศได้วางแผนดําเนินการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี จํานวน 1 ฝูงบิน เพื่อมาทดแทน 3 ฝูงบินที่ได้วางแผนทยอยปลดประจําการ เพื่อให้สามารถดํารงขีดความสามารถในการปฏิบัติการบินรบในอากาศ และการโจมตีทางอากาศต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อยอีก 40 ปี

 

โดยสถานการณ์ปัจจุบันมีการขยายอิทธิพลจากชาติมหาอํานาจสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น รวมถึงปัญหาการเมือง และความมั่นคงภายในแต่ละประเทศ ทําให้หลายประเทศในภูมิภาคมีการสะสมกําลัง ทางทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกําลังทางอากาศที่มีขีดความสามารถสูงในการปฏิบัติการทางทหาร อาทิ เมียนมา, มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง (เช่น เครื่องบินแบบ Su-27 และ Su-30) ซึ่งอันดับของกําลังทางอากาศของไทยในปัจจุบับอยู่ในอันดับที่ 5 ในอาเซียน กองทัพอากาศ จึงจําเป็นต้อง จัดเตรียมกําลังให้มีขีดความสามารถและศักย์กําลังรบทัดเทียมกับประเทศรอบบ้าน เพื่อเป็นการป้องปรามและ เตรียมพร้อมรับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนสมรรถนะสูงยุคที่ 5 คือ เครื่องบิน F-35 ซึ่งราคาปัจจุบันลดลงต่ำกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2019

 

ทั้งนี้ กองทัพอากาศ ได้วางแผนในการจัดหาในปริมาณที่ลดลงแต่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจที่สูงขึ้น ตามความมุ่งหมายให้กองทัพอากาศสามารถยกระดับสู่กองทัพอากาศคุณภาพ “Quality Air Force” เพื่อให้มี ขีดความสามารถรับมือกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ และสอดคล้องกับสถานการณ์ด้านความมั่นคงในปัจจุบันและ แนวโน้มในอนาคต ตลอดจนกองทัพอากาศได้วางแผนผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมและประโยชน์กับประเทศไทย มากที่สุด โดยกองทัพอากาศมีแผนที่จะเสนอให้บริษัทผู้ผลิตประเมินขีดความสามารถของบริษัทอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศของไทยที่มีศักยภาพเพื่อจ้างผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ภายในประเทศ (S-Curve 11) และการถ่ายทอด เทคโนโลยีให้กับเจ้าหน้าที่ในการซ่อมบํารุงเพื่อให้มีขีดความสามารถและองค์ความรู้ (S-Curve 12) เพื่อต่อยอดใน อนาคต กองทัพอากาศรับรู้และเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนในครั้งนี้ จึงมุ่งสู่การยกระดับกองทัพอากาศและประเทศไทย สู่การมีเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูง โดยนําไปสู่ การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศซื่งเป็นส่วนสําคัญเพื่อให้ประเทศไทยสามารถผลักดันการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ มีโอกาสสร้างงานในลักษณะแรงงานฝีมือ ซึ่งมีค่าตอบแทนสูง

 

โฆษกกองทัพอาการ กล่าวว่า เครื่องบินแบบ F-35 A มีขีดความสามารถและคุณสมบัติตรงตามความต้องการตามรายละเอียด ความต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตีและระบบที่เกี่ยวข้องตามที่ ทอ.ได้กําหนดไว้ ซึ่งหนึ่งในรายละเอียด ความต้องการด้านระบบอาวุธที่สําคัญซึ่งได้กําหนดไว้คือ มีขีดความสามารถในการใช้ระบบอาวุธที่มีประจําการ อยู่ในกองทัพอากาศ โดยอาวุธดังกล่าวได้แก่ GP Bomb Mk 80 Series, GBU-10 Series, GBU-12 Series และ AIM-120 Series นอกจากนี้เครื่องบินแบบ F-35 A ยังติดตั้งปืนใหญ่อากาศขนาด 25 มิลลิเมตร และสามารถ ติดตั้งใช้งานระบบอาวุธที่ทันสมัย มีความแม่นยําสูง ทั้งระบบอาวุธนําวิถีอากาศ-อากาศ, อากาศ-พื้น, อากาศ-ผิวน้ํา เช่น AIM-9X, JDAM, AGM-158 JASSM เป็นต้น ซึ่งกองทัพอากาศจะได้พิจารณาจัดหาเข้าประจําการตามกรอบงบประมาณ ที่เอื้ออํานวยต่อไป

 

จากความจําเป็นที่กองทัพอากาศต้อง ดํารงขีดความสามารถในการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ ของชาติ การ ดํารงความพร้อมรบ และหากมิได้จัดสรรงบประมาณในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน ในปี 66 จะเป็นผลให้กองทัพอากาศไม่สามารถจัดทําหนังสือ LOA กับทางการสหรัฐฯ ได้ทันในปี 66 ได้ ส่งผลให้ การดําเนินการในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนล่าช้าไปอีก ๒ ปี ซึ่งทําให้เสียโอกาส และขาดความพร้อมรบ ของฝูงบินขับไล่โจมตีทดแทนที่ล่าช้าจาก ปี 75 เป็นปี 77

 

กองทัพอากาศกําหนดความต้องการระยะ 10 ปี (พ.ศ.2563– 2573) ตามที่ระบุในสมุดปกขาว พ.ศ.๒๕๖๓ ปรับปรุงแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน โดยคณะกรรมการศึกษาและจัดทําความต้องการ เครื่องบินขับไล่โจมตีให้มีความเหมาะสมกับงบประมาณที่กองทัพอากาศได้รับ และคํานึงถึงขีดความสามารถ ในการปฏิบัติภารกิจให้ได้ในปี 75 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
– ระยะที่ 1 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (66 – 69) จํานวน 2 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 7,382 ล้านบาท
– ระยะที่ 2 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (69- 71 ) จํานวน 4 เครื่อง วงเงินงบประมาณ14,628 ล้านบาทเศษ
– ระยะที่ 3 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (72- 75 ) จํานวน 6 เครื่อง วงเงินงบประมาณ21,924 ล้านบาทเศษ รวมเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น43,935 ล้านบาทเศษ

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube