“มัลลิกา” ชวนคนไทย ร่วมเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเอเปค2022 เผย “จุรินทร์” นำรัฐมนตรีการค้าเอเปคประชุมนำร่องสำเร็จ เดินหน้าสู่ FTA เอเปคให้สำเร็จร่วมกัน
นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทวิต (Twitter) เชิญชวนคนไทยร่วมเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค 2022 โดยใช้แฮชแท็กร่วมกันคือ #APEC2022Thailand เป็นถังข้อมูล โดยการประชุมนี้เป็นการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก
ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในประเทศไทยตลอดทั้งปี พ.ศ.2565 แล้ววันสำคัญมาก คือ วันที่ 18-19 พ.ย. เป็นการประชุมผู้นำเอเปคที่ประเทศไทยก็มีนายกรัฐมนตรีนำพร้อมกับประเทศเทศเป็นเจ้าภาพโดยก่อนหน้านี้ไทยเคยเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ. 2535 และ 2546 เท่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2565 ที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เป็นประธานนำการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปก (Ministers Responsible for Trade Meeting : MRT) ณ ห้อง Convention B2 ชั้น 22 โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีตนติดตามร่วมด้วย ซึ่งนายจุรินทร์ ได้เคยสรุปผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคก่อนหน้านี้ว่าภาพรวมการประชุมด้านรัฐมนตรีการค้าเอเปคที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพตลอด 2 วันนั้น ในฐานะประธานที่ประชุมได้แสดงความชื่นชมกับรัฐมนตรีการค้าเอเปคจากทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ
รวมทั้งสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค หรือที่เรียกว่า ABAC สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคและผู้เข้าร่วมประชุมที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสมาชิกเอเปคในการผลักดันและกำหนดทิศทางผ่านการแสดงวิสัยทัศน์และมุมมองที่หลากหลายในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อฝ่าวิกฤต โควิด-19 ไปด้วยกัน รวมทั้งการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตามหัวข้อหลักของการประชุมเอเปคประจำปี 2022 ที่ประเทศไทยกำหนดขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” หรือ “Open. Connect. Balance”
สำหรับผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้นจะรวมอยู่ในรายงานในการประชุมสุดยอดผู้นำที่กำลังจะมาถึง และถือว่าทางด้าน เศรษฐกิจการค้านั้นประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะหัวข้อหลักที่ประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าภาพกำหนดไว้ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “Open. Connect. Balance” เป็นไปตามเป้าหมายและบรรลุผลเป็นรูปธรรม
ทั้งจากความเห็นของที่ประชุมและที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต และในเรื่องของ Open คือการเปิดกว้างและเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน ผลรูปธรรมที่ทุกเขตเศรษฐกิจเห็นร่วมกันคือการที่เราจะนำเอเปค ไปสู่การจัดทำ FTAAP หรือ Free Trade Area of the Asia-Pacific ให้เกิดขึ้นในอนาคต ด้าน Connect หรือการเชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจ
ทั้งในส่วนของบุคคลหรือสินค้าและบริการ ได้มีการตั้งคณะทำงานที่เรียกว่า APEC Safe Passage Task Force เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปให้เกิดผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น และส่วนด้าน Balance หรือสร้างสมดุล มีความเห็นที่ตรงกันในทุกเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมประชุมให้มุ่งเน้นการสร้างสมดุลในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพลังงานและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายทุกระดับ ตั้งแต่คนตัวใหญ่จนกระทั่งถึงคนตัวเล็ก ในระดับ SMEs และMicro-SMEs เแรงงาน ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง สตรีและอื่นๆ ด้วย
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews