Home
|
ข่าว

“นฤมล” ชี้ศก.ไทยปี66 เปราะบาง-จี้แก้หนี้ครัวเรือน

Featured Image
“นฤมล” ชี้เศรษฐกิจไทยปี66 เปราะบางตามเศรษฐกิจโลก แนะรัฐต้องเร่งแก้ไขหนี้ครัวเรือนไม่เกิน 80% ของGDP

 

 

 

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน โพสต์เฟสบุ๊คสะท้อนมุมมองการรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจทุกสำนัก บอกตรงกันหมดว่าปี 2566 เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการส่งออก ที่ได้เห็นผลกระทบบ้างแล้ว เดือนพ.ย.2565 ส่งออกไทยหดตัวไป 6% โดยทั้งปี 2565 ส่งออกไทยน่าจะขยายตัวแค่ 3.2% น้อยกว่าปี 2564 ที่ 6% ส่วนปีหน้า 2566 คาดว่าส่งออกไทยจะขยายตัวเพียง 2.7% เท่านั้น

 

 

ขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางในหลายประเทศทั่วโลกเพื่อต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ ในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ภาวะการเงินในตลาดโลกยังเปราะบาง แต่ในปี 2566 อัตราเงินเฟ้อน่าจะถึงจุดสูงสุดและความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยลดลง ปัจจัยเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อในปี 2566 จึงไม่มากเท่าที่เป็นมาในปี 2565 ประกอบกับสถานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ยังเข้มแข็ง อีกทั้งรัฐบาลไทยมีหนี้ต่างประเทศในระดับต่ำ และไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง ตลาดการเงินไทยจึงยังถือได้ว่ามีเสถียรภาพสูงและสามารถรองรับความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี

 

 

อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศที่ยังน่าเป็นห่วงในปี 2566 คือ ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง และธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัว ทั้งที่เป็นหนี้กับสถาบันการเงินและที่เป็นหนี้ non-bank มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ และมาตรการเสริมเฉพาะจุดในการช่วยลดค่าครองชีพและเพิ่มรายได้ จึงยังจำเป็นต้องดำเนินการต่อเนื่องในปี 2566

 

 

ปัญหาหนี้ครัวเรือน จำเป็นต้องใช้นโยบายที่แก้ไขอย่างยั่งยืน เมื่อดูสถิติย้อนหลัง จะพบว่าตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นมากในปัจจุบันเกิดขึ้นในสองช่วงเวลาด้วยกัน คือ วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ 2554 และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากนั้นทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มจากร้อยละ 60 ของ GDP ในปี 2553 เป็นร้อยละ 80 ของ GDP ในปี 2557 และผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจหดตัว นโยบายพักหนี้และส่งเสริมการให้สินเชื่อเพื่อประคองเศรษฐกิจทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80 ของ GDP ในปี 2562 เป็น ร้อยละ 90 ของ GDP ในปี 2565

 

 

ปัญหาหนี้ครัวเรือน จำเป็นต้องใช้นโยบายที่แก้ไขอย่างยั่งยืน เมื่อดูสถิติย้อนหลัง จะพบว่าตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นมากในปัจจุบันเกิดขึ้นในสองช่วงเวลาด้วยกัน คือ วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ 2554 และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากนั้นทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มจากร้อยละ 60 ของ GDP ในปี 2553 เป็นร้อยละ 80 ของ GDP ในปี 2557 และผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจหดตัว นโยบายพักหนี้และส่งเสริมการให้สินเชื่อเพื่อประคองเศรษฐกิจทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80 ของ GDP ในปี 2562 เป็น ร้อยละ 90 ของ GDP ในปี 2565

 

 

นโยบายแก้หนี้ครัวเรือน ถ้ายังทำแต่เรื่องพักหนี้ และเติมสินเชื่อ โดยไม่กำหนดเป้าหมายหนี้ครัวเรือนที่ชัดเจน นอกจากจะไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้แล้ว ยังจะทำให้ครัวเรือนติดกับดักภาระหนี้ ทำให้ปัญหาฝังรากลึกลงไปอีก เป้าหมายหนี้ครัวเรือนควรกำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 80 ของ GDP เพราะระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงเกินร้อยละ 80 ของ GDP แทนที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ จะกลับส่งผลลบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว การจะออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2566 ต้องคำนึงถึงผลลบนี้ด้วย

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube