กกต.จัดลงนามจรรยาบรรณการหาเสียง 34 พรรคเข้าร่วม
กกต.จัดพิธีลงนาม “จรรยาบรรณการหาเสียง” สัญญาที่พรรคการเมืองขอให้ไว้แก่ประชาชน 34 พรรคเข้าร่วม ยกเว้น พลังประชารัฐ-รวมไทยสร้างชาติ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดพิธีลงนาม “จรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566″ และ”สัญญาที่พรรคการเมืองขอให้ไว้แก่ประชาชน พ.ศ. 2566″โดยภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ภาคประชาสังคม องค์กรสื่อ และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมถึงตัวแทนพรรคการเมืองมาร่วมลงนามจรรยาบรรณฯ ครั้งนี้ ทั้งหมด 34 พรรค ยกเว้น พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ
โดยนายแสวง บุญมี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวเปิดงานว่า การร่วมมือนามในจรรยาบรรณฯ ครั้งนี้ถือว่าเป็นนิมิตอันดีที่แสดงให้เห็นถึงความเห็นพ้องต้องกันของพรรคการเมืองที่จะทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และยังเป็นการวางรากฐานของกระบวนการติดตามตรวจสอบการเลือกตั้ง โดยภาคประชาสังคม ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของ กกต. ที่เห็นว่าประชาธิปไตยเป็นของประชาชนทุกคนในชาติ ทุกคนจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อธำรงรักษาและทำให้ประชาธิปไตยงอกงามต่อไป การลงนามครั้งนี้ หวังว่า พรรคการเมืองและว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะยึดมั่นในจรรยาบรรณการหาเสียงที่ได้ลงนามร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์ให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตตามมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ
จากนั้น ผู้แทนจากพรรคการเมืองร่วมกันอ่าน”จรรยาบรรณหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566” และผู้แทนจากพรรคการเมืองพร้อมด้วยสักขีพยานร่วมลงนามในจรรยาบรรณฯ
สำหรับเนื้อหาของจรรยาบรรณฯ คือ เพื่อให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้เแทนราษฎรเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องปฏิบัติต่อพรรคการเมืองทุกพรรค และผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
พรรคการเมืองที่ลงนามในจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉบับนี้ ขอให้คำมั่นสัญญาว่าจะเคารพการตัดสินใจของประชาชนผ่านการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรม และจะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั้งทางกายภาพและทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยปฏิบัติตามหลักการที่เห็นพ้องต้องกัน ดังต่อไปนี้
1.เคารพและปฏิบัติตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง ตลอดจนระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
2.ไม่กระทำการใด ๆ ที่ทุจริตต่อการเลือกตั้งและที่เป็นการซื้อเสียงทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งไม่ใช้กลไกหรือทรัพยากรของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงเลือกตั้ง
3.รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์ ใช้สันติวิธี คำนึงถึงความละเอียดอ่อนและความหลากหลายทางเพศภาวะ ไม่ข่มขู่ คุกคาม หรือสร้างความหวาดกลัวปฏิเสธและประนามการใช้ความรุนแรง ตลอดจนยืนยันว่าจะไม่รบกวนการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมืองอื่น ๆ
4.ปฏิเสธและไม่สนับสนุนการกระทำใด ๆ ที่ปลุกเร้าความเกลียดชังและความรุนแรง หรือใส่ร้ายด้วขความเท็จให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการข่มขู่ การกระทำที่หยาบคาย การใช้ข่าวปลอม การลดทอนคุณค่าเชิงอัตลักษณ์และการเผยแพร่ข้อมูลด้วยกลวิธีที่หลอกลวง อันทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือความได้เปรียบทางการเมือง
5.ธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของพรรคการเมืองในฐานะสถาบันการเมืองที่สำคัญโดยนำเสนอนโยบายที่มาจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกและประชาชน และรับผิดชอบต่อนโยบายที่เสนอนั้น ส่วน “สัญญาที่พรรคการเมืองขอให้ไว้แก่ประชาชน พ.ศ. 2566” มีเนื้อหา
1.จะเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลก็ต่อเมื่อมีเสียงสนับสนุนรวมกันเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับกลุ่มของพรรคการเมืองที่มีเสียงรวมกันไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2.เมื่อร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล จะนำนโยบายที่แต่ละพรรคใช้ในการหาเสียงมาบูรณาการกันอย่างจริงจัง และให้ความสำคัญแก่นโยบายร่วมกันนี้
3.จะร่วมมือกับทุกพรรคการเมืองในการดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อถามประชาชนว่าเห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือไม่
4.จะสนับสนุนให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นวาระแห่งชาติภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้บรรลุข้อตกลงของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน
5. จะดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนมีอำนาจการตัดสินใจในเรื่องของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ และจะพิจารณาโอนงาน งบประมาณ และบุคลากรจากราชการ
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปสู่ราชการส่วนท้องถิ่นมากขึ้นอย่างเพียงพอ
6. จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการรวมกลุ่มของประชาชนลคความเหลื่อมล้ำในทุกค้านโดยเฉพาะค้านเศรษฐกิจ โดยมึน โยบายการดูแลผู้ค้อยโอกาสและผู้สูงอายุ รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจในการออม และสนับสนุนให้แรงงานนอกระบบทุกกลุ่ม รวมถึงลูกจ้างส่วนราชการและลูกจ้างทำงาเข้าสู่ระบบการประกันสังคมอย่างครอบคลุมและทั่วถึง
นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัวการติดตามตรวจสอบกระบวนการเลือกตั้ง โดยภาคประชาสังคมและสื่อมวลชนจากเครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง, เครีอข่ายสื่อมวลชนและภาคประชาชนด้านการตรวจสอบข่าวลวง และภาคประชาสังคมด้านการติดตามนโยบายของพรรคการเมือง
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews