Home
|
ข่าว

We Watch พบปัญหาหลายจุด เลือกตั้ง 14 พ.ค.

Featured Image
We Watch พบปัญหาหลายจุด เลือกตั้ง 14 พ.ค. เรียกร้อง ส.ว.เลือกนายกฯ อย่าฝืนความต้องการประชาชน

 

 

ที่อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มอาสา We Watch หรือกลุ่มเยาวชนอาสาสมัครในนามภาคประชาชน ที่มีภารกิจสังเกตการเลือกตั้ง ประกอบด้วย นายพงษ์ศักดิ์ จันทร์อ่อน , นายกฤต แสงสุรินทร์ และนางสาวณัฐชลี สิงสาวแห แถลงข่าว

 

 

ภายหลังจาก การเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค. 2562 ได้พบว่า การเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค.2566 ยังมีข้อกังขาหลายประการ ที่ชี้ให้เห็นทั้งปัญหาและข้อจำกัดในการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)และระบบเลือกตั้งของไทยในปัจจุบัน อันมาจากการสังเกตการณ์และการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนที่คอยส่งเรื่องร้องเรียนถึงปัญหาในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งจากหลักฐานอันเป็นที่ประจักษ์

 

 

จึงขอนำเสนอข้อค้นพบอย่างปัญหาประสิทธิภาพในการจัดการหน่วยเลือกตั้ง พบข้อกังวลในหลายกรณี เช่นมีการจัดสถานที่ลงคะแนนไม่เอื้ออำนวยต่อผู้พิการ คนสูงอายุนั่งรถเข็น ฯลฯ บางหน่วยเลือกตั้งพบว่าทางขึ้นคูหาเลือกตั้งเป็นพื้นยกระดับสูง อีกทั้งไม่มีทางลาดที่ใช้สำหรับรถเข็นคนพิการ รวมถึงปัญหา การให้ข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้งผิด หลายหน่วยเสือกตั้งมีป้ายไวนิลแนะนำผู้สมัครที่เขียนผิด หรือเอกสารข้อมูลผู้ลงสมัครเลือกตั้งไม่ครบถ้วน เป็นต้น

 

 

นอกจากนั้นยังมีข้อกังวลปัญหาว่าด้วยความเป็นกลาง เช่น กรณีป้ายหาเสียงอยู่ข้างหรือใกล้หน่วยเลือกตั้ง หรือในบางกรณีมีการรายงานว่าพบป้ายหาเสียงติดอยู่ที่กระดานปิดประกาศหน้าหน่วยเลือกตั้ง และระบบการรายงานผลที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การรายงานผลที่ล่าช้าและมีจำนวนคลาดเคลื่อนจากที่ประกาศไว้

 

 

ทั้งนี้ ยังมีการละเลยหลักการลงคะแนนเป็นความลับ ในหลายพื้นที่พบว่าด้านหลังคูหาไม่มีกระดานทึบหรือกำแพงมาบังด้านหลังคูหา อาจทำให้มีการสอดส่องการลงคะแนนได้ ลักษณะเช่นนี้เกิดในบางหน่วยของกรุงเทพ จ.สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี ชัยภูมิ ระยอง นครศรีธรรมราช สมุทรปราการ ลพบุรี

 

 

นอกจากนี้ ยังมีกรณีเจ้าหน้าที่ทำบัตรเลือกตั้งขาด เกิดขึ้นในหน่วยเลือกตั้งในเขตกรุงเทพฯ แต่บทเรียนที่สำคัญ คือกรณีที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งทำบัตรเลือกตั้งฉีกขาดขณะทำการฉีกบัตรให้ผู้มาใช้สิทธิ โดยเจ้าหน้าที่ไม่ใด้ให้บัตรใหม่ แต่ใช้วิธีซ่อมโดยใช้เทปกาวแปะ

 

 

ทั้งนี้ ยังมีการละเลยหลักการลงคะแนนเป็นความลับ ในหลายพื้นที่พบว่าด้านหลังคูหาไม่มีกระดานทึบหรือกำแพงมาบังด้านหลังคูหา อาจทำให้มีการสอดส่องการลงคะแนนได้ ลักษณะเช่นนี้เกิดในบางหน่วยของกรุงเทพ จ.สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี ชัยภูมิ ระยอง นครศรีธรรมราช สมุทรปราการ ลพบุรี

 

 

นอกจากนี้ ยังมีกรณีเจ้าหน้าที่ทำบัตรเลือกตั้งขาด เกิดขึ้นในหน่วยเลือกตั้งในเขตกรุงเทพฯ แต่บทเรียนที่สำคัญ คือกรณีที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งทำบัตรเลือกตั้งฉีกขาดขณะทำการฉีกบัตรให้ผู้มาใช้สิทธิ โดยเจ้าหน้าที่ไม่ใด้ให้บัตรใหม่ แต่ใช้วิธีซ่อมโดยใช้เทปกาวแปะ

 

 

อีกทั้ง ยังมีข้อผิดพลาดของบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พบการรายงานในหลายกรณี เช่น พบรายชื่อบุคคลที่ไม่รู้จักอยู่ในทะเบียนบ้านของตน , รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังคงอยู่ที่ทะเบียนบ้านเดิม แม้ว่าผู้นั้นย้ายที่อยู่เป็นเวลานานแล้ว , พบสิทธิเลือกตั้งปรากฏเป็นคนละเขตกับภูมิสำเนาตามทะเบียนบ้านจริง

 

 

ความผิดปกติของเอกสารสำคัญที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชน ได้แก่ การรายงานจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ได้รับมาก่อนลงคะแนน และหลังการลงคะแนน พบว่ามีข้อผิดปกติที่เกิดขึ้นคือไม่ปิดประกาศเอกสารไว้ที่หน้าหน่วยเลือกตั้ง ปิดประกาศเอกสารไว้ภายในหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งประชาซนไม่สามารถเดินเข้าไปดูได้ และปิดประกาศโดยไม่ระบุรายละเอียด หรือระบุรายละเอียดผิด

 

 

การรายงานเกี่ยวกับผลการนับคะแนนเลือกตั้ง (ส.ส.5/18) ไม่จำเป็นต้องเก็บกลับไปคืน กกต.เขต จะต้องปิดประกาศหน่วยเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนสามารถมาตรวจสอบผลคะแนนได้ แต่พบว่าในหลายหน่วย เจ้าหน้าที่เก็บประกาศนี้ทันทีหลังจากปิดประกาศได้เพียงไม่นาน

 

 

ข้อกังวลต่อความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ กปน. พบรายงานว่า เจ้าหน้าที่บางส่วนมีการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน อันกระทบต่อสิทธิของประชาชน เช่นบางหน่วยเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ไม่ตรวจสอบอัตลักษณ์ของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง, ไม่ให้ประชาชนพับบัตรเลือกตั้งก่อนหย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบบัตรลงคะแนน ,ห้ามใช้ปากกาที่ประชาชนเตรียมมาเอง เป็นต้น

 

 

ส่วนช่วงการนับคะแนนบัตรเลือกตั้ง พบการรายงานจำนวนมากเกี่ยวกับการวินิจฉัยบัตรดี บัตรเสียผิดพลาด การขานคะแนนผิดพลาด รวมถึงการขีดคะแนนผิด และปัญหาว่าด้วยการมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง พบเจ้าหน้าที่ปฏิเสธผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ได้มีเอกสารแต่งตั้งจากพรรคการเมือง หรือจาก กกต. เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้อาสาสมัครถ่ายภาพ เอกสารสำคัญ เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้อาสาสมัครและประชาชน ถ่ายภาพหรือบันทึกวีดีโอในขณะนับคะแนนบัตรเลือกตั้ง

 

 

ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะต่อการจัดการหลังการเลือกตั้งในระยะเร่งด่วน2 ประการ คือ
1. กกต.ควรชี้แจงจำนวนบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าที่มีการจัดการที่ผิดพลาดและชี้แจงวิธีการแก้ไขอย่างละเอียด พร้อมแสดงหลักฐานเพื่อสร้างความกระจ่างแก่ประชาชน
2. เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อการบริหารประเทศ และเพื่อสร้างความไว้วางใจต่อประชาชน กกต.ควรเร่งรัดให้เกิดการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ในการตรวจสอบผลการเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง และประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการโดยเร็วที่สุด โดยอาจยึดระยะเวลาตามกฎหมายเลือกตั้ง 2554 ซึ่งกำหนดให้ประกาศผลเลือกตั้งภายใน 7 วันหลังการเลือกตั้ง เป็นแนวทางปฏิบัติ ทั้งนี้ให้ครอบคลุมถึงการเปิดเผยผลคะแนนรายหน่วยเลือกตั้งด้วย

 

 

พร้อมกันนี้ทาง We Watch ได้ตอบคำถามถึงการใช้เครื่องลงคะแนนเลือกตั้งในไทย ว่า มีความเป็นไปได้ ที่จะเอามาใช้ เพราะกกต.ได้พัฒนามาถึงรุ่นที่4 แล้ว ตอนนี้กกต.เปิดให้ทดลองในหน่วยงานรัฐ หลายที่ แต่ทั้งนี้เป็นเรื่องความพร้อมที่จะเปิดให้ใช้ และอยากเรียกร้องให้ตรวจสอบ เครื่องมือ โดยองค์กรที่ได้รับการยอมรับ เพื่อทดสอบว่าใช้ได้จริงไม่มีการแทรกแซงใดๆ และต้องเอื้ออำนวยต่อผู้พิการด้วย

 

 

พร้อมตอบคำถามถึง ข้อกังวลที่ส.ว.ต้องเลือกนายกรัฐมนตรีว่าส.ว. สามารถ ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีแต่ไม่ควรค้าน และขอให้เข้าใจความต้องการของประชาชน ส่วนหลังจากนี้ กลุ่มWe watch จัดเก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของกกตจนถึงการจัดตั้งรัฐบาล จบการเลือกตั้งจนตั้งรบ.จะเก็บรวบรวมจ้อมูลการดำเานงานของกกต.แต่การตั้งรัฐบาล

 

 

และอยากให้แก้กฎหมายเลือกตั้งในเรื่องการใช้สิทธิ์เลือกตั้งหากไม่ได้ไปใช้สิทธิ์ในวันเลือกตั้งล่วงหน้าควรสามารถใช้สิทธิ์ในวันเลือกตั้งจริงได้ และควรปรับการใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ควรอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube