“ชูศักดิ์” นำสส.เพื่อไทยยื่นแก้ไขรธน.ให้ทำประชามติ 2 ครั้ง
“ชูศักดิ์” นำสส.เพื่อไทย 122 คน แจงยื่นญัตติแก้ไข รธน. ให้ทำประชามติ 2 ครั้ง ลดงบแผ่นดินเกินความจำเป็น
นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และ ประธาน กมธ.ป.ป.ช.ของสภาผู้แทนราษฎร นำสมาชิก 122 คน ยืนร่างแก้ไขธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่)พ.ศ. … ต่อไปประธานรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 ซึ่งการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนที่คณะกรรมการชุดของนายภูมิธรรม เวชชัย รองนายกรัฐมนตรี กำลังจัดทำรายงานสรุปเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
เบื้องต้นมีข้อสรุปว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเสนอให้มีการทำประชามติ 3 ครั้ง โดยครั้งที่หนึ่งจะเสนอถามประชาชนวงเล็บ (โดยยังไม่มีร่างแก้ไขต่อรัฐสภาว่าสมควรให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ครั้งที่ 2 เมื่อมีร่างแก้ไขมาตรา 256 เสนอต่อรัฐสภาและร่างได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว และครั้งที่ 3 เมื่อส.ส.ร. รอยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแล้ว
ซึ่งคณะทำงานของพรรคเพื่อไทยเห็นว่าสาระสำคัญของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4 / 2564 ที่ระบุว่าให้ถามประชาชนเสียก่อนว่าประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ซึ่งการถามประชาชนเสียก่อนยังไม่มีความชัดเจนว่าถามในขั้นตอนใด ซึ่งอาจตีความได้ว่าสามารถเสนอได้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อแก้ไขวิธีแก้รัฐธรรมนูญและเพิ่มเติมการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยกระบวนการ ส.ส.ร.ไปก่อนได้ และเมื่อรัฐสภาอนุมัติร่างแก้ไขมาตรา 256 ในวาระ 3 แล้วจึงไปสอบถามประชาชนว่ายินยอมให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยถามไปพร้อมกับคำถามที่ว่า “เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่”
ซึ่งขณะที่สอบถามก็ยังไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้นจึงถือได้ว่าได้สอบถามประชาชนก่อนทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหากทำได้เช่นนั้นก็สามารถลดทอนการทำงบประมาณเหลือเพียง 2 ครั้ง ทำให้ลดภาระงบประมาณได้ 3,000 -4,000 ล้านบาท จึงเห็นว่าประเด็นดังกล่าว ผู้ที่จะชี้ขาดก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้ออกคำวินิจฉัย 4/2564 โดยที่ผ่านมาสมาชิกปีคำวินิจฉัยแตกต่างกันไป
พรรคเพื่อไทย จึงมีความตั้งใจและเห็นด้วย กับนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และเข้าใจดีถึงความซับซ้อน ความเห็นที่แตกต่าง ในข้อกฎหมาย สองสี่ถึงเจตนาที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในครั้งนี้ จะหาข้อยุติ ว่าควรทำประชามติกี่ครั้ง เพื่อให้เกิดความชัดเจน หากสามารถหาคำตอบได้ว่าประชามติเพียง 2 ครั้ง ก็ถือว่าไม่สิ้นเปลืองงบแผ่นดินเกินความจำเป็น โดยมิได้มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาเกิดจากคำวินิจฉัยที่ไม่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงต้องทำให้เกิดความชัดเจนเท่านั้น หากในที่สุดแล้วศาลรัฐธรรมนูญรับคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ก็ถือว่าปัญหาการทำประชามติก็จบลงแล้วทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตาม
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews