“วิโรจน์” นำ กมธ.ทหาร ชมงานเปิดสมุดปกขาว ทอ.
“วิโรจน์”นำ กมธ.ทหาร ชมงานเปิด สมุดปกขาว ทอ.แผนงานปี 67-80 ย้ำบทบาท เป็นโซ่ประสาน “พลเรือน-กองทัพ” ให้เข้าใจกัน เล็งสังคายนา กฎหมาย-ระเบียบ-ทีโออาร์ ที่เป็นอุปสรรค อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.ก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร กล่าวในงาน RTAF Symposium การสัมมนาเชิงวิชาการ Road Map To Unbeatable Air Force บทบาท กมธ.การหทาร กับการพัฒนากองทัพอากาศว่า บทบาทสำคัญของ กมธ.การทหาร คือเราจะเป็นโซ่ประสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างพลเรือนกับกองทัพ โดยเฉพาะกับกองทัพอากาศ ที่ผ่านมามักจะเกิดปรากฏการณ์เมื่อกองทัพจะจัดซื้อจัดจ้างอะไร ถ้าเราตัดสินใจโดยใช้หลักวิศวกรรมหรือหลักความมั่นคงภายในประเทศ
ก็จะตอบได้ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เช่นที่มา ทอ. วันนี้ ถ้า ทอ. ไม่มีเครื่องบินรบ ไม่มีการลงทุนภาคพื้น หรืออุปกรณ์ส่วนประกอบต่อเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ น่านฟ้าของประชาชนคนไทย ก็จะมีอุปสสรคเกิดขึ้นไปด้วย เช่น การบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ ที่ ทอ. บริหารจัดการ ที่เกิดประโยชน์กับพลเรือนโดยตรง ก็จะส่งผลต่อประชาชน ดังภาพที่เกิดขึ้นว่าเมื่อกองทัพจะจัดซื้ออะไร แล้วประชาชนก็คลางแคลงใจอยู่เสมอ ดังนั้น กมธ.การทหาร ก็จะมาทำให้คลี่คลาย ให้ทั้งกองทัพและพลเรือนเข้าใจกัน โดยยึดหลักเหตุและผล
“ที่ผ่านมาต้องชื่นชม พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผบ.ทอ. และผู้บังคับบัญชา ทอ. อย่างจริงใจ เพราะที่ผ่านมาเวลา กมธ.การทหาร เชิญให้มาชี้แจง ก็ได้รับคสามร่วมมืออย่างดียิ่ง อย่าใช้แค่คำว่าดียิ่ง แต่ใช้คำว่าดีเลิศเลยดีกว่า ทำให้ข้อสงสัยต่างๆ คลี่คลาย มีความโปร่งใส ในระดับที่สูงมาก และเมื่อ กมธ.การทหาร สื่อสารประชาชนอย่างตรงไปตรงมา
ตามข้อมูลที่กองทัพให้มา ความกังวลต่างๆ ก็คลี่คลายไปโดยลำดับ ผมยืนยันว่ากองทัพอากาศจะปฏิบัติหน้าที่ต่อได้ จะต้องมีอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย ผมได้มีโอกาสได้คุยกับนายทหารอากาศหลายท่าน ตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับสูง ผมเชื่อว่าด้วยบุคคลากรที่เรามีอยู่ มีความแข็งแรง แข็งขัน มีทักษะ ความตั้งใจสูงมาก ถ้ามีอุปกรณ์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูงขึ้นท ก็จะทำให้กองทัพอากาศสามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนคนไทยได้เต็มที่
นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ กมธ.การทหาร จะดำเนินต่อไปจากนี้ และได้รับความร่วมมือจากกองทัพอากาศ ที่เห็นตรงกันคือการผลักดัน Offset Policy ที่เหมาะสมและเป็นจริง ตนดีใจได้รับฟังคำบรรยายในการจัดซื้อเครื่องบินรบที่กำลังวางแผนอย่างรอบคอบในขณะนี้ มีความพยายามในการจัดซื้อให้ประชาชนคนไทยได้ประโยชน์สูงสุด ไมได้เป็นเพียงเอาเงินไปซื้อผ่านตัวแทนแล้วเอาเครื่องบินกลับมา
แต่จะต้องได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี อีกทั้งจะต้องพยายามต่อรองเพื่อให้ได้สิทธิที่กองทัพอากาศยืนได้ด้วยปีกของตัวเอง เช่น การดัดแปลง การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงยุทธภัณฑ์และยุทโธปกรณ์ที่เรามีอยู่ ไม่ต้องพึ่งพิงหรือต้องขออนุญาตผ่านกระบวนการที่ไร้ประสิทธิภาพจากประเทศผู้ผลิต และต้องพูดถึงเองผลประโยชน์ทากงารค้าและการลงทุน ถ้าเราต่อรองได้
“ผมมักพูดเสมอมา ถ้าเราเปรียบเทียบกับประเทศอื่นไม่ได้ เพราะประเทศอื่นมีงบประมาณมาก ซื้อเครื่องบินหลักหลายสิบลำในคราวเดียวกัน ด้วยงบประมาณที่จำกัดและสภาวะเศรษฐกิจที่เราประสบอยู่ เราก็ซื้ออย่างจำกัด แต่การต่อรองก็ต้องพิจารณาจากการจัดซื้อ ซึ่งพอ กมธ.การทหารทราบว่า เรื่องนโยบาย Offset Policy และการถ่ายเทคโนโลยี แลกเปลี่ยนต่างๆ อยู่ใรวิธีคิดและยุทธวิธีของทหารอากาศ ก็เชื่อว่าเราก็จะขับเคลื่อนไปด้วยกันอย่างราบรื่น ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับ ผบ.ทอ. และ เสธ.ทอ.
รวมทั้งผู้บังบัญญาชาระดับสูง หากสิ่งใด กมธ.การทหาร สื่อสารกับประชาชนได้ เพื่อให้การจัดซื้อโปร่งใส เป็นไปตามความประสงค์เพื่อปกป้องประเทศ ปกป้องผลประโยชน์ประชาชน พวกเรายินดีอย่างยิ่ง
นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า วันนี้ตนได้โอกาสเห็นงานวิจัยต่างๆ หลายคนตั้งคำถามกับตนว่า วิจัยทางทหารจะเกิดประโยชน์อะไร งานวิจัยทางทหารต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะที่เกิดผลกระทบที่แพร่ปยังภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือภาคพลเรือนอื่นๆ เช่น เทคโนโลยีอวกาศยาน จะหาเอกชนใดมาลงทุนแล้วคิดถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือธุรกิจทันที นั้นยาก แต่พองานวิจัย ทอ. เกิดขึ้น ผมเชื่อว่าถ้าคิดในผลประโยชน์กองทัพ คิดว่ามี แต่เชื่อว่าผลประโยชน์ทางตรงที่เกิดขึ้นกับพลเรือน ผมเชื่อว่าอาจเกิดมากกว่าและบ่อยกว่า เช่น การบรรเทาสาธารณภัย แก้ปัญหาไฟป่า น้ำท่วม ในการแก้ปัญหาจุดที่สำคัญได้รับผลกระทบสูงสุดก่อน เป็นต้น
ดังนั้น เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างในส่วนของกระทรวงกลาโหมทั้งหมด ถ้าจะส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ส่งเสริมบริษัทคนไทยที่ต้องผลิตยุทธภัณฑ์และยุทโธปกรณ์ ตนมองว่าทีโออาร์ต่างๆ จะต้องมีความดปร่งใสและลดเงื่อนไขที่เป็นการกีดขวางอุตสาหกรรมภายในประเทศ กมธ.การทหารก็จะมาดูเรื่องทีโออาร์ที่ไม่เป็นธรรม เช่น การกำหนดมาตรฐานของไทย
ทั้งที่ผู้ผลิตได้มาตรฐานสากลแล้ว หรือการกำหนดเงื่อนไขจะต้องมีการขายให้กับราชการกับประเทศที่เป็นผู้ผลิตมาก่อนเท่านั้น ซึ่งเป็นคำถามที่ภาคเอกชนตกใจ เพราะเป็นผู้ผลิตในประเทศ แล้วกองทัพในประเทศไม่ซื้อ พอมีเงื่อนไขแบบนี้จะขายให้กับกองทัพได้อย่างไร และการนำบัญชีนวัตกรรมที่ไม่จำเป็นบรรจุไปในทีโออาร์ หรือเงื่อนไขที่คนไทยรู้สึกจี๊ดที่สุด อาจจะไม่สมเหตุสมผลก็คือ ต้องเคยสร้างหรือเคยผลิตสิ่งนั้นมาก่อน
“ผมมองว่าถ้ากองทัพสหรัฐฯมีทีโออาร์ลักษณะนี้ หน่วยงานอย่างนาซ่ามีทีโออาร์ลักษณะนี้ จะต้องจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยที่เคยทำสิ่งนั้นมาก่อน โลกใบนี้จะไม่มีการผลิตสิ่งที่ใหม่และท้าทายเลย แต่จะสมเหตุสมผลกว่าหรือไม่ ถ้ากำหนดทีโออาร์ว่า แม้ว่าจะไม่เคยผลิต แต่ถ้ามีผู้เชี่ยวชาญในการผลิตมาร่วมกำกับการผลิต ก็จะเป็นทีโออาร์ที่สมเหตุสมผลมากขึ้น
ซึ่ง กมธ.การทหาร ก็จะมีบทบาทสำคัญในการแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างสภาพบังคับเพื่อจูงใจการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมวิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม พ.ร.บ.โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ร.บ.เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ที่ต้องให้อำนาจคณะกรรมการยับยั้งทีโออาร์ที่ไม่สมเหตุสมผล หรือเสนอไปยัง ครม. เพื่อแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นการกีดกันการเติบโตและการแข่งขัน
รวมทั้งเสริมมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ผลิตภายในประเทศ เพราะในปัจจุบันซื้อมาเป็นเครื่องและลำ ไม่เสียภาษี แต่ถ้าซื้ออะไหล่มาในประเทศ เกิดการจ้างงานต้องเสียภาษีนำเข้าอะไหล่และชิ้นส่วนที่สูงมาก และผู้ผลิตไทยจะแข่งขันกับโบรกเกอร์ เอเจนท์ซี่ ที่มีหน้าที่แค่ซื้อมาแล้วขายไปได้อย่างไร พร้อมย้ำถึงแนวนโยบายพลทหารปลอดภัยด้วย ซึ่ง ทอ. ทำล้ำหน้า กมธ.การทหารไปแล้ว เพราะมีการอบรม พ.ร.บ.อุ้มหายฯ ที่กระบวนการต่างๆ ผ่านไปเรียบร้อบแล้ว
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews