“ปดิพันธ์” บุกทวงร่างกม.-สวนเพื่อไทยไร้มารยาทตรงไหน
“ปดิพันธ์” เยือนทำเนียบ ตามร่างฯกฎหมายคั่งค้าง ยัน ไม่ได้รุกล้ำ กดดันเซ็นร่างฯแต่มาหาทางออกร่วมกัน สวนเพื่อไทย ไร้มารยาทตรงไหน ไม่ได้ปิดทำเนียบ แต่มาหาทางออกให้ประเทศ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รอง รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลด้วยรถยนต์ประจำตำแหน่ง พร้อมรถตู้ข้าราชการจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรติดตาม 2 คัน โดยผ่านทางประตู 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีการประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจมาแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อทวงถามถึงร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน 31 ฉบับ จากนั้นนายปดิพัทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า การเดินทางมาครั้งนี้ ตามที่มีข่าวออกไปว่าตนมาบุก ไม่ใช่เลย แต่เป็นการมาขอประชุมร่วม เพื่อติดตามความก้าวหน้าของร่างกฎหมาย เพราะจากที่ตนเคยสอบถามถึงสาเหตุที่นายกรัฐมนตรีไม่เซ็นรับรองร่างกฎหมาย
เนื่องจากต้องรอรับความคิดเห็นจากหน่วยงาน แต่เมื่อไม่มีรายละเอียดบอกว่าแต่ละร่างรอหน่วยงานไหนอย่างไร และไม่ทราบถึงขั้นตอน ตนจึงอยากรู้ว่าจะทำอย่างไรกันดี จึงมาขอหารือกับทางสำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี ส่วนจะได้เจอใครหรือไม่นั้นไม่เป็นไร เพราะตนเพียงแค่อยากมารู้ขั้นตอน เพราะเป็นเรื่องดีที่ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติจะได้หารือกัน
พร้อมยกตัวอย่างว่า ประเด็นที่ไม่มาตอบกระทู้ถามสดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีก็ควรที่จะต้องทราบ เพราะมันต้องมีเอกสารชี้แจ้งเหตุผลที่ชัดเจน แต่เอกสารชี้แจ้งแต่ละครั้ง ไม่มีการชี้แจงรายละเอียดว่าติดภารกิจอะไร
ส่วนกรณีที่สส.เพื่อไทย มองว่าการที่รองประธานสภาฯ เดินทางมาในวันนี้ จะเป็นการรุกล้ำอำนาจฝ่ายบริหารและเกินหน้าที่ พร้อมกล่าวว่าตนไม่ได้มากดดันให้เซ็น และไม่ได้มองว่าตัวเองรุกล้ำ พร้อมมองว่าหากจะไม่เห็นชอบจะดีกว่า ไม่อย่างนั้นจะไม่ชัดเจน และเจ้าของร่างก็ไม่รู้ว่าจะต้องปรับปรุงร่างของตัวเองหรือไม่ ดังนั้นอาจจะต้องมีการปรับปรุงอย่างไรก็ควรจะบอกมา แต่หากเราไปเรื่อยๆ
และขณะนี้ 6 เดือนกว่าแล้ว ฉะนั้นการจะตีร่างฯการเงิน ถือว่ามีขอบเขตที่กว้างมาก พร้อมยกตัวอย่าง ร่างฯรับราชการทหารและการถ่ายโอนกำลังพล และร่างฯกฎหมาย PRTR (Pollutant Release and Transfer Register) และร่างฯ เปิด เผยข้อมูลมลพิษถูกตีความว่าเป็นร่างฯการเงิน ฉะนั้นการจะตีความร่างฯอย่างไรเราต้องการความชัดเจนในเรื่อง
ส่วนจะได้พูดคุยกับฝ่ายบริหารหรือไม่ตนคิดว่า ถือว่าเป็นการพูดคุยครั้งแรกก็แล้วกันและไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ ซึ่งก็ต้องเข้าใจฝั่งรัฐบาลด้วย แต่ถ้าหากไม่พูดคุยกัน และโต้ตอบผ่านทางสื่อมวลชนอย่างเดียว มันก็ไม่มีโอกาสปรับปรุง ส่วนจะได้พูดคุยกับนายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง หรือไม่ตนไม่แน่ใจ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการติดต่อพูดคุยเป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด แต่ดำเนินการตามขั้นตอนตามปกติ รอมยามว่าตนได้ส่งหนังสือประสานงานมายังสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ส่วนการที่นายปดิพัทธ์ เดินทางมาเองนั้นถือว่าการประสานงานระหว่างวิปรัฐบาลกับสภาฯไม่เชื่อมโยกกันหรือไม่ รองประธานสภาคนที่ 2 ระบุว่า เรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของวิปฯ แต่ตน เป็นรองประธานสภาที่กำกับดูแลเรื่องการตรากฎหมายโดยตรง ดูให้ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล และการที่ตนเดินทางมาทำเนียบรัฐบาลในครั้งนี้ ทางประธานสภาและรองประธานสภาคนที่ 1 ไม่ได้มีความเห็นรอหน้าที่ดูแลกฎหมายเป็นหน้าที่ของตนโดยตรง
เมื่อถามว่าที่ฝ่ายการเมืองมองว่าการทำเช่นนี้ เป็นการทำในฐานะส่วนตัวใช่หรือไม่นายปดิพัทธ์ระบุว่า ก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ พร้อมยืนยันว่าสถานการณ์ในการพิจารณากฎหมาย ก็มีหลายอย่างที่บางร่างฯไม่เข้าสภาฯสักที หากสภาฯทำได้เพียงแค่รอร่างฯจากรัฐบาลก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดหลักการสากล
เมื่อถามต่อว่าธรรมเนียมที่ผ่านมาไม่เคยมีกรณีที่รองประธานสภาต้องมาตามกฎหมายเองที่ทำเนียบรัฐบาล นายปดิพัทธ์ ระบุว่า ทั้งทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภาต้องทำงานใกล้ชิดกัน และหากทำงานร่วมกันความไม่เข้าใจกันก็จะลดลง และไม่คิดว่าเราต้องวางตัวห่างกัน ซึ่งฝ่ายบริหารก็เข้าสภาฯบ่อย สภาฯก็มีโอกาสมาเยี่ยมคารวะพูดคุยเพื่อให้แก้ไขปัญหา ซึ่งตนมองว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดธรรมเนียมอะไร
ส่วนเป้าหมายการเดินทางมาทำเนียบรัฐบาลในวันนี้ อยากจะเห็นภาพอะไร นายปดิพัทธ์กล่าวว่า หากได้เจอฝ่ายบริหารของทำเนียบ ก็คงเป็น 3 ประเด็นที่สื่อมวลชนและประชาชนกังวล เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสภาฯกับรัฐบาล อาทิท่าทีของประธานวิปรัฐบาล ที่เรียกร้องให้เข้ามาตอบกระทู้ รวมถึงขั้นตอนทางธุรการต้องเนี๊ยบกว่านี้ ควรระบุให้ชัดเจนว่าติดภารกิจอะไร ซึ่งมองว่าตรงนี้ต้องมีการสะท้อน ไม่ใช่ตอบโต้กันผ่านเพียงหน้าสื่อมวลชนเท่านั้น พร้อมย้ำว่าแน่นอน ตนไม่ได้ไร้เดียงสา เพราะมันมีจังหวะทางการเมืองที่จะทำให้ร่างฯกฎหมายไหนเข้าหรือไม่เข้า แต่อย่างน้อยต้องโปร่งใสตรงไปตรงมา ว่าติดเรื่องอะไรบ้าง พร้อมยังว่าไม่ได้มีวาระซ่อนเร้นอะไร
เมื่อถามย้ำว่าทางสมาชิกพรรคเพื่อไทยมองว่าเป็นเรื่องของมารยาท นายปดิพัทธ์กล่าว คนขอถามกลับว่า การที่จะมาทำงานร่วมกันเพื่อทำงานให้ดีขึ้นมันผิดมารยาทตรงไหน? ตนเข้ามาปิดทำเนียบหรือ? มาแบบไม่สุภาพหรือ? แต่ตนเข้ามาเพื่อขอความร่วมมือและหาทางออกในการพิจารณากฎหมายให้ประเทศชาติ? แต่ถ้าหากมองว่าเป็นการลุกล้ำก็มีสิทธิ์ที่จะวิจารณ์ แต่ยืนยันว่าตนมาด้วยเจตนาบริสุทธิ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเสร็จสิ้น ได้เดินเท้าต่อมายังบริเวณหน้าตึกบัญชาการ 1 เพื่อรอพบกับตัวแทนของสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) โดยระหว่างที่ยืนรออยู่หน้าตึกบัญชาการ 1 เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลประจำทำเนียบรัฐบาล ได้พยายามติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่สลน. ว่าใครจะลงมาพูดคุย ทำให้รองประธานสภาฯ คนที่ 1 ซึ่งยืนรออยู่พูดว่า “สำนักงานเลขาธิการนายกฯ มีกี่คน ไม่อยู่สักคนเลยเหรอครับ“ จากนั้น รองประธานสภาฯ คนที่ 1 ได้โชว์ภาพเอกสารที่ส่งมายังสลน. ตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา
ว่าจะมีการมาสอบถามความคืบหน้าของร่างกฎหมายต่อสลน. ที่ทำเนียบรัฐบาล กระทั่งเวลาผ่านไปประมาณ 10 นาที คณะของนายจงเจริญ สุวรรณรัตน์ ผอ.กองงานประสานงานทางการเมืองสำนัก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มาพบกับรองประธานสภาฯ คนที่ 1 พร้อมกับเชิญขึ้นไปพูดคุยที่ชั้น 5 ตึกบัญชาการ 2
ต่อมา เวลา 14.00 น.รองประธานสภาฯ คนที่ 1 กล่าวว่า การมาที่ทำเนียบฯในวันนี้ เพื่อมาดูกระบวนการทำงานทางธุรการ ว่าเมื่อมีการส่งร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงินมาแล้ว มีกระบวนการอย่างไร เพราะเวลาบอกว่ารอความเห็นจากหน่วยงานมันครอบคลุมทุกอย่าง รวมถึงมาสอบถามเรื่องการการตอบกระทู้ถาม ที่เป็นประเด็นว่ารัฐมนตรีไม่มาตอบ แม้ข้อบังคับการประชุมสภาฯ
ระบุว่า หากรัฐมนตรีไม่มาตอบต้องชี้แจงเป็นหนังสือ บางท่านก็ชี้แจงละเอียด แต่บางท่านก็ชี้แจงไม่ละเอียดแค่บอกว่าติดภารกิจ ดังนั้น ต่อจากนี้อยากให้ชี้แจงชัดเจนขึ้น อีกประเด็นคือเรื่องความเดือดร้อนประชาชนที่ส่งมาที่ทำเนียบฯ หลังจากมีหารือในการประชุมสภาฯ ตรงนี้เราจะติดตามได้อย่างไร เนื่องจากประธานสภาฯ ร้อนใจว่าเรื่องหารือมีการตอบรับน้อย และจะสื่อสารกับประชาชนอย่างไร
ด้าน นายจงเจริญ กล่าวว่า รองประธานสภาฯ คนที่ 1 ทำหนังสือมาถึงสลน. โดยมีการพิจารณาแล้ว มีการมอบหมายตนไปพบรองประธานสภาฯ คนที่ 1 ที่รัฐสภา ตนจึงอยู่ระหว่างรอว่าจะให้ไปพบเมื่อไหร่ เป็นจังหวะหนังสือที่ส่งสวนทางกันจึงอาจดูขลุกขลักในวันนี้
โดยภายหลังจากหารือประมาณ 30 นาที นายปดิพัทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า การหารือในครั้งนี้เพื่อติดตามว่าขั้นตอนการเสนอกฎหมายอยู่ในขั้นตอนใด และเป็นการกระตุ้นให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวง รับทราบถึงศักยภาพของหน่วยงาน นอกจากนี้ยังมีการหารือถึงการตอบกระทู้ ของรัฐมนตรี หากไม่มา ขอให้ทำหนังสือชี้แจงเหตุผล
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews