เสวนา เลือก สว. กติกาใหม่ ใครได้ ใครเสีย “ปริญญา” มองขั้นตอนซับซ้อน ระเบียบกกต.มีปัญหา “เสรี” ชี้ กกต.ทราบปัญหาจึงนำรายละเอียดใส่ในระเบียบแบบหยุมหยิม
ราชดำเนินเสวนา “เลือก สว. กติกาใหม่ ใครได้ ใครเสีย จัดขึ้นโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยเชิญวิทยากรที่เป็นนักวิชาการมาร่วมแสดงความคิดเห็น อาทิ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายรัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล เจ้าหน้าที่ ILAW และนายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและ การมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา
โดยนายปริญญา โดย นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าการเลือกสว.ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศว่าจะประกาศผลเลือกได้ในวันที่ 2 ก.ค. ต้องจับตาว่าจะประกาศได้จริงหรือไม่ เพราะขั้นตอนการเลือกมีความซับซ้อน อีกทั้ง ระเบียบของ กกต.?ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือก สว. นั้น
ถือว่าเป็นปัญหา และมีรายละเอียดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพเกินกว่าเหตุ และอาจทำให้การเลือกนั้นไม่โปร่งใส พร้อมมองว่า การออกระเบียบ กกต. ตามที่เป็นอำนาจตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. พ.ศ.2561 แต่ระเบียบที่กกต. ประกาศใช้มีเนื้อหาที่เข้าข่ายขัดหรือแย้งกับ พ.ร.ป. ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. และรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ มองว่า ระเบียบของ กกต. มีปัญหา เช่น ให้ผู้สมัครแนะนำตัวทางอิเล็กทรอนิสก์ด้วยตนเองเท่านั้น หมายถึงแนะนำตัวด้วยวิธีอื่นไม่ได้ พร้อมกับกำหนดบทลงโทษหากฝ่าฝืน เช่น โทษจำ โทษปรับ เพิกถอนสิทธิ ซึ่ง กกต.ไม่ใช่ฝ่ายนิติบัญญัตติที่สามาถของกฎเอง แต่สามารถทำได้ตามกรอบของพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว.ไม่ใช่ให้อำนาจ กกต. ทำเกินกว่าที่กฎหมายลูกและรัฐธรรมนูญกำหนด
จึงเรียกร้องให้ กกต. ดำเนินการ คือ แก้ไขระเบียบ กกต.ที่จำกัดสิทธิผู้สมัครเกินเหตุควรแก้ไข และมีวิธีให้ผู้สมัครรู้จักกันข้ามอำเภอ รวมถึงกำหนดรายละเอียดให้การเลือกโปร่งใส ผ่านการเปิดโอกาสให้ประชาชน สื่อมวลชน เข้าสังเกตการณ์และตรวจสอบได้
สำหรับกติกาการเลือก สว. ที่กำหนดให้มีผู้ร้องคัดค้านได้ ตนเชื่อว่า จะมีผู้สมัคร สว. หลักแสนคน การคัดค้านจะมีจำนวนมาก ดังนั้นวันที่ 2 ก.ค.ที่ กกต. ระบุว่าจะประกาศผลการเลือกตั้ง จะทำได้หรือไม่ ดังนั้น หลักการที่แก้ไขประเด็นที่จะเป็นปัญหา คือ หลักการความโปร่งใส ให้สาธารณ และสื่อมวลชนตรวจสอบการเลือกได้
ด้านนายรัชพงษ์ ตัวแทน ไอลอว์ กล่าวถึงกรณีที่ศาลปกครองเตรียมไต่สวนนัดแรกวันที่ 16 พ.ค. ตามที่มีผู้ยยื่นคำร้องให้พิจารณาระเบียบ กกต.ว่าด้วยการแนะนำตัวขัดกับรัฐธรรมนูญนั้น ต้องติดตามฟังผลอีกครั้ง ทั้งนี้ หากศาลปกครองยกคำร้อง คงต้องกลับมาพิจารณาและศึกษาระเบียบอีกครั้งว่ายังเหลือประเด็นใดที่ทำได้หรือไม่
โดยการแนะนำตัวกับผู้สมัครเท่านั้น ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการฮั้วกัน และยิ่ง กกต.ไม่มีแพลตฟอร์มให้ทำความรู้จักกัน เชื่อว่าจะส่งเสริมให้เกิดการฮั้วได้แน่นอน ทั้งนี้ การสมัครจำนวนมาก จะทำให้กระบวนการฮั้วกันทำได้ยาก ส่วนการเลือกไขว้ทำให้การฮั้วยาก เพราะการไขว้คือการสุ่ม หากเขาจะฮั้วต้องซื้อทุกกลุ่ม ดังนั้น เป็นเรื่องยากหากมีผู้สมัครจำนวนมาก การรณรงค์ให้สมัครโหวตไม่ผิด
ขณะนายเสรี สมาชิกวุฒิสภา มองว่าการออกระเบียบของ กกต. นั้น กกต.ทราบว่า มีปัญหา เพราะต้องการคุมให้การแนะนำตัวให้ทำได้อย่างเท่าเทียม จึงนำรายละเอียดใส่ในระเบียบแบบหยุมหยิม โดยการออกระเบียบ กกต.นั้น มีความไม่แน่ใจในระเบียบตัวเอง จึงเปิดช่องให้คลายระเบียบตัวเอง ตามที่ระบุไว้ในระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเลือกสว. พ.ศ.2567
ข้อ 5 ที่กำหนดให้ ประธาน กกต. รักษาการตามระเบียบ แต่วรรคสองกำหนดว่า กรณีใดที่ไม่ได้กำหนดไว้หรือมีเหตุจำเป็น กกต. อาจยกเว้น หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามระเบียบได้ พร้อมมองว่า การประกาศผล กกต. อาจใช้วิธีเดียวกับสส. คือ รับรองไปก่อน หากกระบวนการไม่สุจริต เที่ยงธรรม ทำผิดกฎหมายชัดเจน กกต. ต้องรับผิดชอบ
ส่วนคำถามการฮั้วว่า ประเมินมีโอกาสเป็นไปได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด การฮั้วกันอาจเกิดจากฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม ผู้สมัครบางกลุ่มที่รู้เห็นเป็นใจรวมตัวกันและให้คะแนนกันในกลุ่ม แต่เชื่อว่าจะไม่ใช่ทั้งหมด อย่างไรก็ดีตนมองว่าการเลือกสว.ต้องคำนึงความเป็นจริงของการเมือง การเข้าสู่กระบวนการการเป็นตัวแทนของประชาชนในระบบที่กำหนดไว้
แต่การพูดว่าการเลือกที่จำกัด การเลือกไขว้ จะทำให้หาคะแนนได้อย่างไร ทั้งนี้ คนที่รับเลือกทำหน้าที่ มองว่า มีชื่อเสียงได้เปรียบ ต้องดูว่ามีเชื่อเสียงแบบใด หากชื่อเสียงทางร้าย เป็นผู้มีอิทธิพล เชื่อว่าไม่มีใครเลือก
นายเสรี กล่าวด้วยว่า การจัดกลุ่มเพื่อหวังผลต่อการเลือก สว. นั้น อาจเป็นเหตุให้การเลือกไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมได้ อีกทั้งตนมองว่าวิธีดังกล่าว ถือเป็นการเอาเปรียบบุคคล ซึ่งปัญหาที่ยกมาอาจกลายเป็นเงื่อนไขทำให้ว่าการเลือก สว. ไม่สุจริตเที่ยงธรรม และทำให้ สว.รุ่นตนอยู่ยาว ซึ่งตนไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะพวกตนอยู่นานแล้ว ต้องการ สว.รุ่นใหม่เข้ามาทำงานให้บ้านเมือง พวกตนอยู่สมควรแก่เหตุแล้ว ไม่อยากอยู่นานเกินเหตุ ต้องการคนใหม่เข้ามาเพื่อให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย
ขณะเดียวกัน ในตอนท้ายของเวที นายปริญญา ตั้งคำถามกับ นายเสรีด้วยว่า กรณีที่ระหว่างที่ สว.ชุดเก่ารักษาการ จะมีผู้ยื่นตีความอำนาจของ สว.ในการโหวตนายกฯ หรือไม่ รวมถึงอำนาจตามกฎหมายของสว.ที่มีอยู่
จากนั้น นายเสรี ชี้แจงว่า การยื่นตีความนั้นมีแต่การพูด ไม่เห็นตัวเห็นตน ส่วนมองว่าเมื่ออำนาจ หน้าที่หมด คือ หมดไปอย่าแสวงหา ส่วนกรณี ที่คาดว่า หากสว.ใหม่ยังทำหน้าที่ไม่ได้ สว.ชุดปัจจุบันต้องทำหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น การเลือกกรรมการองค์กรอิสระ เป็นต้น
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews