Home
|
ข่าว

ไทยเจาะตลาดอีคอมเมิร์ซสิงคโปร์-ซื้อสินค้าผ่านมือถือ

Featured Image

 

 

 

ไทยเจาะตลาดอีคอมเมิร์ซสิงคโปร์ หลังมีแนวโน้มเติบโตสูงมาก โดยเฉพาะการซื้อสินค้าผ่านมือถือ แนะปรับใช้ในการขายสินค้าไทย

 

 

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ตามนโยบายนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และให้รายงานผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

 

ล่าสุดได้รับรายงานจากนางสาวณฐมา คูณผล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์ ถึงเทรนด์อีคอมเมิร์ซตลาดสิงคโปร์ และโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะศึกษาและนำมาปรับใช้ในการทำธุรกิจ และขยายตลาดสินค้าไทยในสิงคโปร์

 

โดยการแข่งขันของตลาดอีคอมเมิร์ซในสิงคโปร์มีความรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว คาดการณ์ว่า ในปี 2570 รายได้ของตลาดอีคอมเมิร์ซสิงคโปร์มีแนวโน้มที่จะสูงถึง 10,450 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ที่เพิ่มขึ้นมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตนี้ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Lazada , Shopee และอื่นๆต่างนำเสนอบริการที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การซื้อของออนไลน์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

ผู้ประกอบการการค้าออนไลน์จึงต้องก้าวให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาความได้เปรียบทางธุรกิจไว้ รวมทั้งยังมีแนวโน้มการซื้อออนไลน์ผ่านมือถือเพิ่มมากขึ้น โดยมีข้อมูลจาก Statista ระบุว่า มูลค่าการซื้อของออนไลน์ผ่านมือถือจะมากกว่า 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในสิ้นปี 2567

 

“จากการเติบโตของเทคโนโลยีในการค้าออนไลน์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเพิ่มขึ้นหลากหลายรูปแบบ การซื้อของออนไลน์แพร่หลายไปสู่ผู้คนแทบทุกกลุ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการในตลาดอีคอมเมิร์ซ ควรศึกษาแนวโน้มตลาดและใช้ประโยชน์จากเครื่องมือต่างๆอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ” นายภูสิตกล่าว

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube