Home
|
ข่าว

กขค.ร่วม ITC จัดสัมมนานานาชาติ มุ่งพัฒนาแข่งขันการค้า

Featured Image

 

 

 

กขค.ร่วมITC จัดสัมมนานานาชาติ มุ่งพัฒนานโยบายการแข่งขันทางการค้าไทยสู่มาตรฐานสากล เตรียมพร้อมเข้า OECD

 

 

 

 

สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สำนักงาน กขค.) ร่วมกับองค์การศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Centre: ITC) จัดงาน “TCCT Competition Policy Symposium: An Optimal Competition Policy For Thailand นโยบายการแข่งขันที่เหมาะสมต่อไทย” ระหว่างวันที่ 15-16 ก.ค.2567 ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการรวมตัวทางเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรป

 

เพิ่มเติมต่อประเทศไทย (ASEAN Regional Integration Support from the EU Plus Project: ARISE Plus -Thailand) เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศในการกำหนดนโยบาย และทิศทางการพัฒนาการกำกับการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีระบบการแข่งขันที่สามารถสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

 

โดยมี นายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อนโยบายการแข่งขันกับทิศทางการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้ง ฯพณฯ เดวิด เดลี (H.E. David Daly) เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ฯพณฯ ดร. แอนเจลา แมคโดนัลด์ (H.E. Dr. Angela Macdonald PSM) เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย

 

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ร่วมปาฐกถาพิเศษด้วย

 

นอกจากนี้ มีตัวแทนจากภาครัฐ อาทิ นิติบัญญัติ กระบวนการยุติธรรม สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ สิ่งแวดล้อม การศึกษา และภาคเอกชน รวมถึงตัวแทนจากหน่วยงานต่างประเทศ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์ และถอดบทเรียนทั้งในและต่างประเทศ

 

รวมถึงนำเสนอผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง และร่วมกันให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า เช่น ประเด็นการกระจุกตัว การแข่งขันและการพัฒนาเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากต่างประเทศ เพื่อพัฒนานโยบายการแข่งขัน การปรับปรุงระบบนิเวศการแข่งขันไทยให้สอดคล้องกับกระแสโลก

 

นโยบายการกำกับการแข่งขันทางการค้าในตลาดดิจิทัล นโยบายการกำกับการแข่งขันทางการค้าต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายการกำกับการแข่งขันทางการค้าต่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

 

โดยการจัดงานครั้งนี้เป็นการฉายภาพรวมในอดีตของนโยบายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย โดยนำเสนอผลงานที่สำคัญภายใต้การบังคับใช้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 ตลอดระยะเวลากว่า 5 ปี ที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงการออกนโยบายการกำกับดูการแข่งขันทางการค้าของไทยให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบธุรกิจและเศรษฐกิจไทย

 

อีกทั้งเพื่อเป็นการยกระดับนโยบายการแข่งขันทางการค้าของไทยให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล เตรียมพร้อมสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD ซึ่งในขณะนี้ไทยกำลังอยู่ในกระบวนการเข้าสู่การเป็นสมาชิกกลุ่ม สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพด้านการแข่งขันทางการค้าของไทยในสายตานานาชาติ

 

โดยนายยรรยง ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกฎหมายการแข่งขันการค้าในปัจจุบัน ว่า ตนมองว่าโดยพื้นฐานถือว่าดีพอสมควร แต่ประเทศไทย ยังถือว่าอยู่ในระยะเริ่มแรก เพราะการแข่งขันทั่วโลกเข้มข้นมากขึ้น เราเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทั้งโลกมาแข่งขันในไทย

 

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทยก็ไปทำธุรกิจในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้น กฎเกณฑ์การแข่งขันเสรีที่เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ เป็นพื้นฐานที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ และทำให้คนไทยสามารถก้าวไปสู่ตลาดโลกอย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงต้องจัดให้มีกติกา กลไกที่เสรีและเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการ

 

นายรักษเกชา กล่าวว่า สำหรับหัวข้อสำคัญที่จะมีการหารือ และเปลี่ยนกันตลอด 2 วันนี้ จะเป็นเรื่องของมาตรฐานสากล เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน การกระจุกตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง และเรื่องตลาดดิจิทัลที่ ขณะนี้กำลังได้รับการกล่างถึงเป็นอย่างมาก โดยตั้งเป้าว่าบทสรุปจาการประชุมครั้งนี้ จะเป็นเข็มทิศนำทางให้เราทำงานสอดรับกับสถานการณ์โลกและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube