“พริษฐ์” ชี้ ปชป. ต้องคำถามประชาชนเองหลังเข้าร่วมรบ.เพื่อไทย – ทำงานฝ่ายร่วม พปชร.ไม่มีปัญหาแม้อุดมการณ์ต่างกัน ถือเป็นคนละส่วน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ตอบคำถามสื่อมวลชนถึงการเข้าร่วมรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ของพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตที่เคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ มาก่อน ว่า คงจะไม่มีความเห็น ในฐานะที่เคยเป็นอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เพราะได้ลาออกมาตั้งแต่ปี 2562 หลังจากพรรคมีการทำผิดคำพูดไปร่วมรัฐบาลกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่วันนี้หากพูดฐานะพรรคประชาชนก็ถือเป็นเรื่องของแต่ละพรรคการเมืองจะตัดสินใจร่วมรัฐบาล คงต้องไปอธิบายกับประชาชนในมุมกว้างเอง พรรคประชาชนก็ทำหน้าที่ของตนเองไม่ว่าใครจะร่วมกับใครเราก็อยู่ในจุดที่เป็นแกนนำฝ่ายค้านเพื่อทำงานเป็นฝ่ายค้านเชิงรุกในการตรวจสอบรัฐบาลที่เข้มข้น ยังมีนโยบายอะไรที่ยังไม่ตอบโจทย์ประชาชน หรือหากมีการบริหารอะไรที่ไม่โปร่งใส ก็จะต้องมีการตรวจสอบ อีกมุมหนึ่งคือการทำงานเชิงรุกในการผลักดันวาระ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น การเสนอ กฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ที่ผ่านมาก็ได้เสนอไปแล้วประมาณ 60 ฉบับและมีหลายฉบับได้ผ่านความเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว
เมื่อถามว่ามองการเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้จะสามารถช่วยฟื้นพรรคประชาธิปัตย์จากอดีตได้ นายพริษฐ์ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่แต่ละพรรคจะไปวิเคราะห์เอาเองและเป็นสิ่งที่แต่ละพรรคจะต้องรับผิดชอบการตัดสินใจของตนเอง พรรคประชาชนก็จะทำหน้าที่ของตนเองเช่นกัน ทำอย่างไรให้เราสามารถทำงานเต็มที่ในฐานะฝ่ายค้านได้ หวังว่าในช่วงที่เหลือของสภาผู้แทนราษฎรนี้ หน้าที่ฝ่ายค้านของเราจะทำให้ประชาชนมีความ มั่นใจมากขึ้น ว่าการเลือกตั้งในครั้งต่อไป เราจะมาเป็นรัฐบาลที่ทำหน้าที่ ให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง
เมื่อถามถึงการทำงานร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ ของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ นั้น นายพริษฐ์ กล่าวว่า คงต้องบอกว่าการทำงานระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาลมีหน้าที่แตกต่างกัน การเข้าร่วมรัฐบาลคือการตัดสินใจร่วมกันมีความคาดหวัง และมีแนวนโยบายที่สอดคล้องกัน จึงจะสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับฝ่ายค้านไม่ถือเป็นการจับมือของแต่ละพรรค แต่เป็นการรวมกันของพรรคการเมืองที่ไม่ได้อยู่ร่วมรัฐบาล
คิดว่าท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะจบอย่างไร พรรคไหนจะมีสถานะทางกฎหมายมาเป็นพรรคฝ่ายค้านบ้าง ในฐานะพรรคประชาชนก็จะทำหน้าที่ของตนเอง ในฐานะแกนนำพรรคฝ่ายค้าน ตามแนวทางที่เราได้สื่อสารไว้กับพี่น้องประชาชน
เมื่อถามว่าการทำหน้าที่ฝ่ายค้านของพรรคประชาชนกับพรรคพลังประชารัฐจะอยู่แบบพรรคใครพรรคมันหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า ไม่เชิงว่าจะเป็นแบบนั้น ต้นจะไม่พูดว่าทำงานแบบทักใครพักมัน แต่อยากจะบอกว่า การที่แต่ละพรรคการเมืองจะมีสถานะเป็นฝ่ายค้าน มัน ไม่ได้เกิดจากการตัดสินใจว่าจะร่วมกันเป็นฝ่ายค้าน เกิดจากการตัดสินใจของพรรคร่วมรัฐบาล ที่ตัดสินใจร่วมรัฐบาลและทำให้มีฝ่ายค้านเกิดขึ้น ดังนั้นอะไรที่ต้องทำงานร่วมกันในเชิงของกลไกที่ประชุมที่ประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านก็เดินหน้าต่อไปตามข้อบังคับแต่ ในเชิงของอุดมการณ์แนวคิดแนวนโยบายต่างๆ ที่ต้องการจะผลักดันที่ต้องการใช้กลไกต่างๆ ก็จะเดินหน้าไปตามที่พรรคประชาชนดำเนินการอยู่โดยไม่ได้คำนึงว่าพรรคใดบ้างจะมีสถานะเป็นฝ่ายค้านบ้าง
ในขณะที่การจัดสรรเวลาในการอภิปรายในสภานั้น เป็นไปตามข้อบังคับและข้อกำหนดอยู่แล้วซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีการแบ่งสัดส่วน คำนวณโดยจำนวนส.สของแต่ละพรรคที่มีอยู่ตรงนั้นคงเป็นเชิงธุรกิจไม่ได้มีปัญหาอะไรแต่ในเชิงแนวคิดอุดมการณ์ ก็ต้องย้ำว่าการที่พักแต่ละพรรค มาเป็นฝ่ายค้านก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีอุดมการณ์ที่สอดคล้องกัน
เมื่อถามถึงพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ย้ำว่าไม่สามารถเป็นฝ่ายค้านได้ เพราะมีอุดมการณ์ที่ไม่ตรงกับพรรคก้าวไกล นายพริษฐ์ กล่าวว่า ก็อย่างที่บอกไปไม่มีใครจับมือกันเป็นฝ่ายค้าน มีแต่พรรคการเมืองที่ตัดสินใจจับมือร่วมรัฐบาล ฉะนั้น สิ่งที่พรรคร่วมรัฐบาลจะต้องตอบกับประชาชนที่เลือกเขาเข้าไปคือ เหตุใดถึงมีการจับมือกันในพรรคร่วมรัฐบาล และแนวนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลสอดคล้องกันหรือไม่อย่างไร เพราะแนวนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลถือมีความสำคัญ ต่อการบริหารราชการแผ่นดินแต่พักฝ่ายค้านแม้จะมีหลายพรรคนโยบายจะสอดคล้องกันหรือไม่ ไม่ได้ส่งผล
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews