Home
|
ข่าว

“พริษฐ์” ย้ำจุดยืนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นปชต.

Featured Image

 

 

 

 

“พริษฐ์” ย้ำจุดยืนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด ต้องสะท้อนความคิด ความฝัน และความต้องการของคนทุกคน

 

 

 

 

 

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กล่าวเสวนาโครงการเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ “ทบทวนรัฐธรรมนูญ 2560 สู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่” ว่าคิดว่าเส้นทางที่ 1 ที่เราต้องเดินแน่นอนคือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด แต่จะเดินเส้นนี้อย่างเดียวคงไม่พอ เพราะกระบวนการบางอย่างต้องใช้เวลา

 

แม้จะเร่งเร็วที่สุดไม่มีอุปสรรคอะไรเลยก็อาจจะใช้เวลา 1-2 ปี ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องมีการเดินเส้นทางที่ 2 คู่ขนานไปคือการแก้ไขรายมาตราในประเด็นที่จำเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้ไขบางปัญหาไปล่วงหน้าก่อน ซึ่งอาจจะมีการพิจารณาบางร่างในที่ประชุมร่วมรัฐสภา ไม่สัปดาห์หน้าก็สัปดาห์ถัดไป

 

ทั้งนี้ เกณฑ์ที่จะใช้วัดว่าเราแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จหรือไม่ มี 2 เกณฑ์คือความชอบธรรมทางประชาธิปไตยและโดยเร็วที่สุด เพราะหากเราจะทำเพียงแค่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด โดยไม่สนใจเรื่องความชอบธรรม ตนคิดว่าก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้

 

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยนั้น พรรคปชน.มองว่าต้องสะท้อนความคิด ความฝัน และความต้องการของคนทุกคน ซึ่งหากจะวางนิยามที่ทำให้รัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยในเชิงรูปธรรมควรมี 3 องค์ประกอบ คือ 1.สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ต้องมาจากการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์, 2.คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่ สสร.อาจจะตั้งขึ้นมานั้น ควรมีองค์ประกอบที่เป็นธรรมกับประชาชนและเป็นธรรมกับแต่ละฝ่ายทางการเมือง

 

ซึ่งเมื่อตนไปดูโมเดลที่พรรคเพื่อไทย (พท.) เสนอไว้เมื่อปีที่แล้ว ก็มีความกังวลเล็กน้อยเพราะในจำนวน 47 คนนั้น 24 คนมาจาก สสร. แต่อีก 23 คนเป็นคนนอกที่มาสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แยกจากสส. และ สว. แต่เมื่อรวมโควตาของครม.กับสส.ฝ่ายรัฐบาลแล้วจะอยู่ที่ 14 คน ขณะที่โควตาของสส.พรรคฝ่ายค้าน อยู่ 4 คน และสว. 5 คน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่ไม่สมดุล

 

นายพริษฐ์ กล่าวว่า สำหรับองค์ประกอบที่ 3.เมื่อ สสร.จัดทำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ควรนำร่างดังกล่าวไปทำประชามติ โดยไม่ต้องให้รัฐสภาเห็นชอบก่อน เพราะ สว.ยังไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งหากจะให้รัฐสภาเห็นชอบก่อน ก็อาจจะเปิดช่องให้ตัวแทนที่อาจจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง สามารถเข้ามาแทรกแซง ปรับแก้เนื้อหาบางประการได้

 

แม้อาจจะส่งมาที่รัฐสภาได้แต่ต้องไม่เปิดให้ลงมติ เพียงแค่เปิดให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายแล้วนำความเห็นนั้นบันทึกไว้ เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้ประกอบตอนลงประชามติ ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลกางโรดแมปให้ชัดว่าการแก้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่บอกว่าจะทำให้เร็วที่สุดนั้น จะได้เมื่อไหร่และทันการเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่

 

นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับแพ็กเกจการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราที่พรรค ปชน.มองว่ามีความสำคัญ เร่งด่วน และเป็นไปได้จริง ซึ่งเราได้เดินหน้าแล้ว 2 แพ็กเกจ โดยแพ็กเกจแรกคือ การลบล้างผลพวงรัฐประหาร และแพ็กเกจที่สองคือ การตีกรอบอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ

 

โดยการตีกรอบอำนาจเรื่องของการยุบพรรคการเมืองที่จะพยายามทำให้พรรคการเมืองยึดโยงกับประชาชนมากขึ้นคือการทำให้พรรคการเมืองเกิดง่าย อยู่ได้ ตายยาก ตีกรอบอำนาจเกี่ยวกับมาตรฐานจริยธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่แต่ละคนนิยามไม่เหมือนกัน แต่รัฐธรรมนูญปี 2560

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube