Home
|
ข่าว

บอร์ด EV เคาะมาตรการลดภาษีหนุน HEV – MHEV

Featured Image
บอร์ด EV เคาะมาตรการลดภาษีหนุน HEV – MHEV เปลี่ยนผ่านการผลิตรถยนต์ไทยสู่อนาคต พร้อมให้ยกยอดผลิตชดเชยตาม EV3 ไป EV3.5

 

 

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าฯ (บอร์ดอีวี) และการประชุมคณะกรรมการนโยบายอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงแห่งชาติ (บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ ) ที่มีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในทั้ง 2 การประชุม ซึ่งทั้ง 2 อุตสาหกรรมถือว่ามีความสำคัญกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก

 

 

โดยบอร์ดอีวี เห็นชอบ “มาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” โดยเป็นการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารขนาดที่นั่งไม่เกิน 10 คน แบบ HEV และ MHEV ซึ่งผลิตในประเทศ

 

 

มาตรการสนับสนุนรถยนต์ HEV กำหนดภาษีสรรพสามิตในอัตราคงที่ ตั้งแต่เริ่มใช้โครงสร้างภาษีใหม่ เป็นเวลา 7 ปีตั้งแต่พ.ศ. 2569 – 2575 มติบอร์ดอีวี เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 โดยมีอัตราและเงื่อนไขการลงทุน 4 เงื่อนไข คือ 1.ต้องมีการปล่อยการ์ดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สูงไม่เกิน 120 g/km โดยการปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 g/km กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 6 และการปล่อย CO2 ไม่เกิน 101 – 120 g/km กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 9

 

 

2.ต้องมีการลงทุนในไทยเพิ่มเติม โดยผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทในเครือไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาทระหว่างปี 2567 – 2570

3.ต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตหรือประกอบในประเทศ โดยต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศตั้งแต่ปี 2569 และต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆตั้งแต่ปี 2571

 

 

และ4.ต้องมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ (ADAS) อย่างน้อย 4 จาก 6 ระบบ ทั้งระบบเบรกฉุกเฉินขั้นสูง, ระบบเตือนการชนด้านหน้า, ระบบดูแลภายในช่องจราจร, ระบบเตือนการออกหรือเปลี่ยนช่องจราจร, ระบบตรวจจับจุดบอด และระบบควบคุมความเร็ว

 

 

ส่วนมาตรการสนับสนุนรถยนต์ MHEV ซึ่งเป็นรถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้าโดยมีแรงดันไฟฟ้าในการขับเคลื่อนต่ำกว่า 60 โวลต์ และอาศัยเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเซกเมนต์ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการผลิตในระดับโลก บอร์ดอีวีได้กำหนดภาษีสรรพสามิตในอัตราคงที่ตั้งแต่เริ่มใช้โครงสร้างภาษีใหม่เป็นเวลา 7 ปีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2569-2575 โดยมีเงื่อนไขและอัตราการลงทุน 4 เงื่อนไข คือ

 

 

1.ต้องมีการปล่อยการ์ดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สูงไม่เกิน 120 g/km โดยการปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 g/km กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 10 และการปล่อย CO2 ไม่เกิน 101 – 120 g/km กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 12

 

 

2.ต้องมีการลงทุนในไทยเพิ่มเติม โดยผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทในเครือไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2567-2569 และไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาทระหว่างปี 2567-2571

 

 

3.ต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตหรือประกอบในประเทศ โดยต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตผลิตในประเทศตั้งแต่ปี 2569 และต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญได้แก่ Traction Motor หรือชิ้นส่วนที่มีลักษณะการทำงานเพื่อเสริมแรงขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 2571 เป็นต้นไปและ4.ต้องมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ (ADAS) อย่างน้อย 4 จาก 6 ระบบ เช่นเดียวกับเงื่อนไขของ HEV

 

 

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ BEV ได้มีการพิจารณาเรื่อง “การขยายเวลาการผลิตชดเชยตามมาตรการ EV3” โดยมีมติให้ปรับปรุงเงื่อนไขจากเดิมที่กำหนดให้ต้องผลิตรถยนต์เพื่อชดเชยการนำเข้าในอัตราส่วน 1:1 เท่า (นำเข้า 1 คันผลิตชดเชย 1 คัน) ภายในปี 2567 หรือ 1:1.5 เท่า ภายในปี 2568 ซึ่งให้ผู้ประกอบการสามารถขยายเวลาการผลิตชดเชยมาตรการ EV3 ไปผลิตชดเชยภายใต้เงื่อนไขของมาตรการอีวี 3.5 ได้ (คือผลิตชดเชยสองเท่าภายในปี 2569 หรือสามเท่าภายในปี 2570)

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube