ศาล รธน.มติเอกฉันท์ ยก 2 คำร้องล้มเลือกสว.2566
ศาล รธน.มติเอกฉันท์ ยกคำร้องอีก 2 เรื่อง กล่าวหา กกต.จัดการเลือกตั้ง สว. 2566 โดยไม่สุจริต-เที่ยงธรรม
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมพิจาาราวินิจฉัยคดีสำคัญ กรณีนายเสธียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213
1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ถูกร้องที่ 1) เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิของผู้ร้องในการสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ทำให้การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไม่สจริตและเที่ยงธรรม ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 215 และมาตรา 264 วรรรคหนึ่ง (1) (2)(3) (4) และ (6)
2.การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองกลาง (ผู้ถูกร้องที่ 2) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดสิทธิหรือเสร็ภาพของผู้ร้องตามรัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 24 มาตรา 188 มาตรา 171 มาตรา 197 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และมาตรา 215
3.การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ถูกร้องที่ 3) ที่ยุติเรื่องร้องเรียนโดยไม่ดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้องผู้ร้อง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 215 มาตรา 221 มาตรา 230 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 231
โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องไม่ปรากฏว่าผู้ร้องยื่นคำร้องเกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 ต่อผู้ตรวจจการแผ่นดิน กรณีไม่เป็นไป ตามหลักเกณฑ์พระราชบัญญัติประกอบรัฐธธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.พ.ศ.2561 มาตรา 46 วรรคหนึ่ง
ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 สำหรับการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นการใช้อำนาจของผู้พิพากษาหรือตุลาการที่มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธธรรมนูญ มาตรา 188 วรรคสอง ประกอบกับเป็นเรื่องที่ศาลอื่นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 47 (4) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา
ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ส่วนการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 3 เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย หากผู้ร้องเห็นว่าเป็นการกระทำละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ ผู้ร้องอาจใช้สิทธิทางศาลได้ศาลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคสาม เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธธรรมนูญได้กำหนดกระบวนการร้องหรือผู้มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยไว้เป็นการเฉพาะแล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 47 (2) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้งนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213
อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย
ขณะเดียวกัน กรณีของนายสุวิทย์ เหมตะศิลป (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธธรรมนูญ มาตรา 213 ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ถูกร้องที่ 1) เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ถูกร้องที่ 2) และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธธธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 (ผู้ถูกร้องที่ 3) ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ควบคุมและจัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 และมาตรา 224 เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้อง
โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องเป็นเรื่องการดำเนินการจัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ร้องอาจใช้สิทธิทธิทางศาลได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคสาม เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญญได้กำหนดกระบวนการร้องหรือผู้มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยไว้เป็นการเฉพาะแล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 47 (2) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews