Home
|
ข่าว

กมธ.สาธารณสุข จับมือกับ กรมอนามัย ใช้ “มุ้งสู้ฝุ่น”

Featured Image
กมธ.สาธารณสุข จับมือกับ อธิบดีกรมอนามัย โชว์นวัตกรรมใหม่กลางสภา ใช้ “มุ้งสู้ฝุ่น” ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ใช้งบไม่เกิน 3,000 สำหรับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง-เด็กเล็ก

 

 

 

นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีความห่วงใยต่อประชาชน ซึ่งพบว่า มีผู้สูงอายุ และเด็กจำนวนมาก ที่ได้รับผลกระทบเข้ารับการรักษาเกี่ยวกับการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทำ “มุ้งสู้ฝุ่น” เพื่อจะช่วยลดฝุ่น

 

 

ให้ประชาชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศสะอาด โดยมีการพัฒนาต้นแบบจาก อาจารย์ คณะวิศวกรรม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นการประยุกต์ใช้หลักการทำห้องปลอดฝุ่น กันฝุ่น กรองฝุ่นสำหรับบ้านเรือนที่ไม่สามารถปิดหน้าต่างได้สนิท ที่มีกลุ่มบอบบาง ผู้ป่วยติดเตียง มีงบประมาณจำกัด โดยอุปกรณ์ที่จัดทำ ใช้งบประมาณไม่เกิน 3,000 บาท

 

 

ประชาชนสามารถทำเองได้ คือใช้มุ้งผ้าฝ้าย ไส้กรองอากาศ และพัดลม โดยจะเป็นการสร้างความดันบวกภายในมุ้ง ด้วยการใส่เครื่องกรองอากาศติดกับพัดลมเป่าเข้าไปข้างในมุ้ง สร้างความดันบวกที่สูงกว่าข้างนอก จะผลักดันไม่ให้ PM 2.5 เข้าไปในมุ้ง ซึ่งจากการศึกษา ที่ใช้ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีประสิทธิภาพ ในการลดฝุ่น 36.3 – 75 เปอร์เซ็น

 

 

 

นพ.ทศพร ยังขอให้ประชาชนมั่นใจในคุณภาพ ซึ่งหากมีการประดิษฐ์โดยกลไกการผลิตที่ถูกวิธี มีปรากฏในเว็บไซต์ของกรมอนามัยและเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข ด้านแพทย์หญิงอัมพร กล่าวว่า เรื่องนี้ นายสมศักดิ์ เทพสุทินรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีความเป็นห่วง?กลุ่มเปราะบาง และผู้ป่วยติดเตียงที่มีสิ่งแวดล้อมเปื้อนฝุ่น ไม่สามารถหนีไปที่ไหนได้

 

 

ดังนั้น ทางเลือกที่สำคัญ คือ จะลดอัตราการเจ็บป่วยจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้เพราะแต่ละครั้งการนอนพักรักษาตัว?ที่โรงพยาบาลจะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000 บาทต่อครั้ง และมุ้งกันฝุ่นมีการพิสูจน์แล้วว่า ช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง? หอบหืด? หรือโรคทางเดินหายใจ จึงเป็นนโยบายของรัฐมนตรีที่มุ่งสู่ผลให้ครอบคลุมกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะในพื้นที่เปื้อนฝุ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

 

 

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ทดลองสาธิตเข้าไปภายในมุ้ง และตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ซึ่งพบความแตกต่างอยู่นอกมุ้ง มีค่าฝุ่น 20 ไมโครกรัม แต่เมื่อเข้าไปอยู่ในมุ้งสู้ฝุ่น ทำให้ค่าฝุ่นลดลง เหลือ 12 ไมโครกรัม

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube