Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

ย้อนรอย ไทยแผ่นดินไหว 28 มีค.68 รุนแรงสุด

แผ่นดินไหวเมียนมา สั่นสะเทือนถึงไทย รับรู้ได้ในหลายจังหวัด มีตึกที่กำลังก่อสร้างถล่มกลางกรุง ประชาชนตื่นตระหนกตกใจ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายคนโวยวายทวงถามถึงระบบเตือนภัยพิบัติของประเทศ แต่กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ชี้แจงว่า ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้

 

 

 

 

ขณะที่นายกฯแพทองธาร ชินวัตร และผู้เกี่ยวข้อง ออกแอคชั่น สั่งการได้อย่างทันท่วงที ตั้งแต่อยู่ภูเก็ต ก่อนบินกลับมาลุยต่อในกทม.สร้างความเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่ง โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย ครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่มีความรุนแรงที่สุด โดยจาก จากข้อมูลของกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

บันทึกไว้ว่าแผ่นดินไหวในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมีขนาดระดับเล็ก ถึงปานกลาง โดยส่วนมากไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์ และมักจะเกิดในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูนและพะเยา ซึ่งมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่เอื้อต่อการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งไม่ค่อยมีผลกระทบหรือความเสียหายมากนัก โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแผ่นดินไหวที่ประชาชนรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ประมาณปีละ 8 ครั้ง แต่ก็ไม่เคยมีครั้งไหนรุนแรงเท่ากับวันที่ 28 มี.ค.2568 เลย

 

 

 

สถิติแผ่นดินไหวในอดีตของไทย ที่มีความรุนแรงเกินระดับ 5 ริคเตอร์ ครั้งแรก วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2518 ความรุนแรง 5.6 ริคเตอร์ ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก โดยเกิดจากรอยเลื่อนเมย -อุทัยธานี,ครั้งที่ 2 วันที่ 22 เมษายน 2526 ความรุนแรง 5.6 ริคเตอร์ ที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี โดยเกิดจากรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์, วันที่ 11 กันยายน 2537 ความรุนแรง 5.1 ริคเตอร์

 

 

ที่ อ.พาน จ.เชียงรายเกิดจากรอยเลื่อนใน จ.เชียงราย, วันที่ 9 ธันวาคม 2538 ความรุนแรง 5.1 ริคเตอร์ ที่ อ.ร้องกวาง จ.แพร่, วันที่ 21 ธันวาคม 2538 ความรุนแรง 5.2 ริคเตอร์ ที่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่, วันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ความรุนแรง 6.3 ริคเตอร์ ที่ อ.พาน จ.เชียงราย โดยเกิดจากรอยเลื่อนพะเยา

 

 

และครั้งล่าสุด 28 มีนาคม 2568 ความรุนแรง 8.2 ริคเตอร์ ในประเทศเมียนมา เกิดจากรอยเลื่อนสะกาย แต่แรงสั่นสะเทือนถึงไทย ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออาคารสูงในประเทศไทย บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครทั้งนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะไม่เผชิญกับแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากนัก แต่ประวัติแผ่นดินไหวในอดีตนั้นชี้ให้เห็นถึงแนวโน้ม และพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงอยู่เป็นประจำ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้เรามีความรู้ และตระหนักถึงภัยธรรมชาติ เพื่อพัฒนาระบบเตือนภัย และการก่อสร้างอาคารให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้นได้ในอนาคต เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียเหมือนเช่นครั้งนี้อีก …

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube