ย้อนดู4แม่ทัพสตง.ผู้พิทักษ์ทรัพย์แผ่นดิน
เหตุการณ์ ตึก 30 ชั้น ที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ที่กำลังก่อสร้างด้วยงบประมาณ 2,136 ล้านบาท บนถนนกำแพงเพชร 2 ใกล้ตลาดนัดส่วนจตุจักร
ที่ถล่มลงมาวันที่28 มี.ค.ส่งผลให้มีคนงานเสียชีวิต และสูญหายอีกจำนวนมาก กลายเป็น ‘อาฟเตอร์ช็อก’ ที่เสียหายที่สุดในไทยจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศเมียนมา โดย อาคารดังกล่าวดำเนินการก่อสร้างโดยกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง “บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)”และ “บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด” โดยได้รับการอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างจากคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ต้นปี 2563 ก่อนจะเริ่มก่อสร้างจริงในช่วงต้นปี 2564 โดยมีกำหนดสิ้นสุดโครงการวันที่ 31 ธ.ค. 2566
แม้ด้านหนึ่งยังถือว่าโชคดี ที่โครงการดังกล่าวใช้เวลาก่อสร้างเกินกำหนดเดิมมาแล้วกว่า 1 ปี ไม่งั้นผู้คนในสตง.อาจประสบชะตากรรมกับเหตุการณ์นี้ หากแต่จากเหตุการณ์นี้ อาคาร สตง.ที่กำลังก่อสร้าง ถือเป็นอาคารในประเทศไทยแห่งเดียวที่ถล่มลงมาจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ทำให้เกิดคำถามมากมาย ว่าเหตุใดโครงการของรัฐที่ใช้งบประมาณหลักพันล้านบาทจึงไม่สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวนี้ได้
ทำให้ สตง.กลายเป็น “ตำบลกระสุนตก”ถูกตั้งคำถามมากมายแม้จะมีการออกมาชี้แจงยืนยันว่าโครงการนี้ที่มีการเซ็นต์สัญญานในสมัย ของ “ประจักษ์ บุญยัง”ผู้ว่าสตง.คนก่อนดำเนินการอย่างถูกต้องโปร่งใส แต่ยังคงเสียโจมตี จนสตง.ต้องออกมาชี้แจงหลายรอบ โดยล่าสุด ได้มีสาร จรากผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน “มณเฑียร เจริญผล” ถึงพนง. กรณีแผ่นดินไหว ตึกถล่ม พ้อถูกวิจารณ์ไม่เป็นธรรม โดยเนื้อหาทำนอง สูดลมหายใจลึก ๆ กุมมือกันให้แน่น และก้าวไปพร้อมๆ กันยืนยันถึงจุดยืนขององค์กรในความซื่อสัตย์สุจริต
กระนั้นเมื่อย้อนกลับไปดูบทบาทของ สตง.ที่มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคล การงบประมาณการปฏิบัติงาน และการดำเนินการอื่น ที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐบาล โดยมี ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นหัวหน้าสำนักงานนั้น พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จาก รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540กำหนดให้เป็นองค์กรตรวจสอบอิสระและเป็นกลาง ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ในเวลาต่อมา โดย หลัง รธน.40 มีการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินแต่ประสบปัญหาล่าช้า เนื่องจากผู้สมัครขาดคุณสมบัติ จึงมีการเสนอชื่อ “คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา”เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนแรก โดยหลังการรัฐประหารในปี 2549มีการตั้ง “ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน”เป็นกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) และให้ทำหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
กระทั้งใน พ.ศ. 2553 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ว่าพ้นจากตำแหน่งนับตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 65 ปี โดย พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็น ผู้ว่าสตง.คนถัดมา ได้เรียกร้องให้คุณหญิงจารุวรรณปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว
จนเกิดความขัดแย้งกันภายใน สตง. กระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ศาลปกครองกลางได้ตัดสินให้การดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของคุณหญิงจารุวรรณ สิ้นสุดลงเมื่อมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้ว ซึ่งบทบาทของ สตง.ในยุคของ “พิศิษฐ์”ถือว่ามีการตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดินอย่างเข้มข้นจนได้รับความน่าเชื่อถือ
จนมีครั้งหนึ่งที่ “พล.อ.เปรม”อดีตประธานองค์มนตรีเคยไปปพูดงานงานของ สตง.ในประโยคอมตะ “ เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” แม้กระนั้น ในยุคของ “พิศิษฐ์”ที่มี ประจักษ์ บุญยัง อดีตผู้ว่า สตง.คนก่อน ที่เป็นผู้เซ็นต์สัญญาสร้างตึกสตง. ก็ยังถูกโจมตีจากฝ่ายเสียผลประโยชน์ จนเคยถูกร้องไปยัง ปปช. เรื่องการสั่งยกเลิกการไปดูงานแต่ ปปช.ก็สรุปว่าไม่มีความผิด กระทั่งมาถึงยุค ของ “มณเฑียร เจริญผล”ผู้ว่า สตง.คนปัจจุบันที่ถือเป็น “ลูกหม้อสตง.เพราะเป็น “รองผู้ว่าสตง.”ยุคที่ “ประจักษ์”เป็นผู้ว่าสตง.ที่กำลังเผชิญกับกระแส “ตีกลับ”รุมถล่ม ย้อนศรบทบาทเข้มข้นการตรวจสอบฝ่ายต่างๆที่ผ่านมา.
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews