คณบดีแพทยศิริราชมหิดล เผย ฉีดวัคซีนไขว้ ซิโนแวค-แอนตราฯ กระตุ้นภูมิเร็วใน 5 สัปดาห์ มีผลการวิจัยรองรับ
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศิริราชฯ ม.มหิดล เปิดเผยถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สลับชนิด ว่าระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราอาศัยการทำงานของเม็ดเลือดขาวอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. T Ceels ที่มีไกลการทำงานคือเมื่อถูกกระตุ้น และเจอเซลล์ที่มีการติดเชื้อไวรัสจะเข้าไปจัดการค่าเซลล์ที่มีการติดเชื้อ โดยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้กลไกล T Ceels อยู่ในขณะนี้ได้แก่กลุ่มของ mRNA และ Viral Vector ส่วนกลุ่มที่ 2. B Ceels ที่มีกลไกการทำงานคือจะสร้าง Antibody ออกมาในกระแสเลือดและทันทีที่มีไวรัสเข้ามาจะป้องกันไม่ให้เข้าไปในเซลล์ หรือ ไม่ให้ไวรัสเข้าไปติดเชื้อ ซึ่งภูมิคุ้มกันแบบนี้ เป็นหนึ่งในกลไกลหลักที่วัคซีนส่วนใหญ่ใช้กัน เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่ง 2 กลุ่มนี้ทำหน้าที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ทั้ง 2 อย่าง การปรับรูปแบบของการฉีดวัคซีน จากเข็มที่ 1 เป็นการฉีดวัคซีนเชื้อตาย คือ ซิโนแวค ซึ่งกระตุ้น B Ceels ได้ดีแต่อาจจะกระตุ้น T Ceels ได้ไม่ดีนัก จึงเป็นที่มาของการปรับการฉีดดีหรือไม่ โดยเอาวัคซีนอีกประเภทหนึ่งที่กระตุ้น T Ceels ได้ดีในกลุ่มกลุ่มของ Viral Vector คือ วัคซีน แอสตราเซนเนกา หากทำแบบนี้ได้เข็มที่ 1 ฉีดด้วยซิโนแวคจากนั้น 3 สัปดาห์ฉีดตามด้วย แอสตราเซนเนกา โดยทั่วไป 2 สัปดาห์ภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูง เบ็ดเสร็จใช้เวลาประมาณ 5 สัปดาห์ ซึ่งขณะนี้ข้อมูลงานวิจัยไม่ว่าจะเป็นจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า 2 เข็มนี้เมื่อฉีดครบ มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นสูง และคาดว่าสูงเพียงพอที่จะ ครอบคลุมโควิดสายพันธุ์เดลต้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตได้ด้วย
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news