Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

89ปี รธน. กับ 4นายกฯที่ยังคงฉายแสง

 

วันรัฐธรรมนูญ และตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ

 

 

วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ถูกสถาปนาเป็น วันรัฐธรรมนูญ และตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นฉบับที่ 20 ตลอดเวลาการเดินทางของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 89 ปี ได้มีประมุขฝ่ายบริหารประเทศมาแล้ว 29 คน จากคนแรกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา จนถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาโดยผู้นำทั้ง 29 คนมีที่มาของการขึ้นครองอำนาจต่างกัน ทั้งมาโดยการเลือกตั้งตามปกติ หรือมาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่ง 89 ปี ที่ผ่านมาประเทศไทย มีรัฐประหารไปแล้วมากถึง 13 ครั้ง แต่ละครั้งก็มักจะฉีกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าทิ้งแล้วตั้งคณะกลุ่มบุคคลมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วก็มีการเลือกตั้งเข้าสู่อำนาจ จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ก็จะเกิดรัฐประหารขึ้นอีกเป็นวงล้อประวัติศาสตร์หมุนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า

 

ในสถานการณ์ปัจจุบันแม้เราจะมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว20ฉบับ มีนายกฯมาแล้ว 29 คน แต่มีอยู่ 4คน ที่ยังโลดแล่นในหน้าปัดความสนใจของสาธารณชน คนแรกคือพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯคนปัจจุบันที่ครองอำนาจมายาวนานกว่า 7ปี มีทั้งคนเกลียดและรัก จัดเป็นบุคคลที่สร้างสีสันอย่างมากในวงการการเมือง ทั้งวาจา ลีลา กิริยาท่าทาง อารมณ์ ความรู้สึก ที่ทั้งสร้างความประทับใจและสร้างความไม่พอใจคนที่ 2คือ ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23ที่แม้จะถูกโค่นอำนาจไปตั้งแต่ปี 2549 ผ่านมา 15ปี เรตติ้งยังไม่ตกเป็นข่าวได้อย่างต่อเนื่องมีคนรักและคนเกลียดมากพอๆกัน ส่วนคนที่ 3 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28น้องสาวสุดเลิฟของทักษิณ พ้นจากอำนาจเพราะท๊อบบูทเหมือนกัน อาศัยอยู่ต่างประเทศ ออกโซเชียลบ้างตามสถานการณ์ และยังเป็นอดีตนายกที่คนยังพูดถึงอย่างต่อเนื่องส่วนคนที่ 4คือ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 20 นามว่า ชวน หลีกภัยที่ขณะนี้ยังอยู่ในแวดวงการเมืองโดยเป็นประธานรัฐสภาไทยและประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย มามากกว่า 2ปีแล้ว ที่ทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งนายหัวชวนยังคงเป็นภาพจำของพรรคประชาธิปัตย์ และถือว่าเป็นคนค่ายสีฟ้าที่มีบารมีมากที่สุดคนหนึ่ง

 

อย่างไรก็ตามเส้นทางของ รัฐธรรมนูญเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐธรรมนูญ มีความเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างอำนาจของบุคคลและรัฐ เหมือนกับบทกวีอมตะของศรีอินปันตี สื่อมวลชนอาวุโสที่เคยเขียนไว้ว่า “ชนชั้นใดเขียนกฎหมาย ก็แน่ไซร้เพื่อชั้นนั้น” ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของ Karl Marx ที่ว่า “กฎหมายเป็นเสมือนเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้นเพื่อปกป้องอำนาจของตน”ฉะนั้นแล้วที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 จึงถูกยกย่องว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”เนื่องมาจากเป็นรัฐธรรมนูญที่มีส่วนร่วมจากประชาชนมากที่สุด มีการเลือกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 76 จังหวัด ร่วมกับ และกำหนดให้มี ส.ว. จำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งและเป็นที่มาขององค์กรอิสระทั้งกกต. ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯและเมื่อไม่นานมานี้ รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนโดยปิยบุตรแสงกนกกุล และพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือไอติม แต่สุดท้ายรัฐสภามีมติไม่รับหลักการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนรื้อระบอบประยุทธ์ ไปเมื่อ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา และยังไม่มีใครรู้ว่าจะได้เห็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอีกครั้งเมื่อไร

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube