Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

หายนะค่าแรง 600 บาท

 

นโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 600 บาท ภายในปี พ.ศ. 2570 ตามนโยบายหาเสียงของพรรคใหญ่ ถือเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายให้ความสนใจในการดำเนินนโยบายดังกล่าว เพราะค่าครองชีพที่สูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนธุรกิจ กระทบเป็นวงกว้าง และหากบวกการขึ้นค่าแรง เชื่อว่าผลที่ตามมาจะหนักมากขึ้นหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศและภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

 

 

 

ด้านนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่ออกมามองว่า มีความเป็นห่วงต้นทุนของภาคเอกชนที่มีการปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าแรงที่ได้มีการพิจารณาปรับเพิ่มขึ้นไปแล้วร้อยละ 5 หากมีการส่งสัญญาณผิด ว่าจะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็น 600 บาท ตามนโยบายของพรรคการเมือง

 

จะกระทบกับการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างชาติได้ เพราะปัจจุบันที่ค่าแรงเฉลี่ยอยู่ที่ 328 – 354 บาทต่อวัน ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นการทยอยขึ้นไปจนถึง 600 บาท จะทำให้ต้นทุนภาคธุรกิจปรับเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 70 ทำให้ภาคธุรกิจอาจปรับตัวไม่ทัน โดยที่ผ่านมามองว่าการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงนั้นมีกระบวนการพิจารณาที่เหมาะสมแล้ว และภาคเอกชนไม่ได้คัดค้านการปรับขึ้นค่าแรงแต่ต้อง พิจารณาอย่างรอบคอบเพราะจะมีส่วนทำให้ผู้ประกอบการ SMEs มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ประกอบกับแรงงานที่มีทักษะสูงในปัจจุบัน ต่างมีค่าจ้างที่สูงและมีความเหมาะสมอยู่แล้ว จึงควรมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะให้กับแรงงานที่ยังคงมีทักษะไม่สูงมากนัก และเพิ่มผลิตภาพแรงงาน

 

ขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน มองนโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมือง ในการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำไม่ต่ำกว่า 600 บาทต่อวัน เงินเดือนปริญญาตรีอยู่ที่ 25,000 บาทขึ้นไปภายในปี 2570 ได้ทดลองประเมินผลกระทบบนการเปรียบเทียบรอบบนฐานปัจจุบันที่ 354 บาท และกำหนดการปรับทยอยเพิ่มขึ้นทุกปี จะคิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยปีละ ร้อยละ 14 ระหว่างปี 2566-2570 รวมทั้งยังจะกระทบกำไรบริษัทจดทะเบียนปีละ 1.49 หมื่นล้านบาท โดยคาดกระทบอุตสาหกรรมพึ่งพาแรงงานสูง อาทิ รับเหมาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

 

ซึ่งมุมมองของภาคเอกชนมองว่ายังไม่เหมาะในการปรับขึ้นเป็น 600 บาทเพราะจะกระทบต้นทุนและความเสี่ยงของประเทศอย่างแน่นอนบนท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

 

ทั้งนี้ช่วง 30 ปีที่ผ่านมาค่าจ้างขั้นต่ำในการพิจารณาของไตรภาคี ถึงแม้บางครั้งภาคการเมืองจะเข้ามาก็ต้องชี้นำอยู่ในไตรภาคี การประกาศนโยบายเช่นนี้จะทำลายโครงสร้างค่าจ้างที่เกี่ยวข้องกับสภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ความสามารถของนายจ้างและความเดือดร้อนของลูกจ้าง และไม่ชัดเจนว่าเป็นนโยบายของพรรคหรือขัดต่อกฎหมาย กกต.ที่แทรกแซงไตรภาคีคณะกรรมการค่าจ้างหรือไม่แต่อาจทำให้หลายพรรคการเมืองนำไปใช้ หากเป็นจริงประเทศไทยอาจสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการลงทุนและการส่งออก ผลดีจะตกไปอยู่กับประเทศเพื่อนบ้านแทน แบบไร้เงาการลงทุนในระยะข้างหน้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

 

 

 

 

 

 

 

 

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube