บินไทยปีกหักขาดทุนยับ4ปีติด
บินไทยปีกหักขาดทุนยับ4ปีติด(click ดูวีดีโอ)
กลับสู่หน้าปัดความสนใจของสาธารณะชนอีกครั้งแล้ว สำหรับสายการบินแห่งชาติ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เจ้าของสโลแกนรักคุณเท่าฟ้า ที่เพิ่งรายงายผลประกอบการประจำปี 2564 ว่าบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 48,311 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 96,430 ล้านบาท ส่งผลให้ผลขาดทุนจากการดำเนินงาน 48,119 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสุทธิ จำนวน 141,180 ล้านบาท
ซึ่งไม่ใช่ปีแรกที่การบินไทยขาดทุนหนักๆ เพราะเมื่อไปส่องดูงบการเงินของการบินไทยพบว่าขาดทุนติดต่อกันเป็นปีที่4 แล้ว โดยในปี2560 ขาดทุน 2,107.35 ล้านบาท ในปี 2561 ขาดทุน 11,625.17 ล้านบาท ปี 2562 ขาดทุน 12,042.41 ล้านบาท และล่าสุดในปี2563 ขาดทุนยับถึง 1.41 แสนล้านบาท ซึ่งผู้บริหารระบุว่าเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างรุนแรงและในเวลาไล่เรื่ยกันทาง การบินไทย ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตขายทรัพย์สิน 4 รายการ ได้แก่ 1.หุ้นสายการบินนกแอร์ 2.หุ้นบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 3.เครื่องยนต์ของเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ที่ไม่ได้ใช้งาน จำนวน 5 เครื่องยนต์)และ 4.อาคารศูนย์ฝึกอบรมหลักสี่ ซึ่งศาลล้มละลายกลางได้อนุญาตให้ขายทรัพย์สินภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ ในวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” หรือ ตลท. ได้ขึ้นเครื่องหมาย “SP” หุ้นการบินไทย ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ดังกกล่าวเป็นการชั่วคราว ด้วยสาเหตุที่ว่าหุ้นตัวนั้นอยู่ระหว่างพิจารณาว่า บริษัทเข้าข่ายอาจถูก เพิกถอนหุ้น กรณีส่วนผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์หรือไม่ ทั้งนี้ ตลท.จะพิจารณาเรื่องดังกล่าวภายในวันที่ 8 มีนาคม 2564 นี้
ในเรื่องราวของการบินไทย นั้นเป็นมหากาพย์ยืดยาว ดราม่ากันหนักหน่วงในช่วงก่อนนี้ ทั้งในเรื่องขาดทุนสะสม การเมืองภายในและนอกองค์กร ความโปร่งใสและอีกหลายหลายสารพัดเรื่อง จนนำมาสู่การต้องปรับโครงการบริษัท และศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้บริษัทฯ ฟื้นฟูกิจการและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะผู้ทำแผนตามที่บริษัทเสนอ ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงประกาศคำสั่งศาลให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งคณะผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 ขณะนี้คณะผู้ทำแผนอยู่ระหว่างจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการและยืนเรื่องรต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในวันที่ 2 มีนาคม 2564
ซึ่งหากได้รับการอนุมัติตามกระบวนการทั้งหมด คาดว่าการบินไทยจะเริ่มดำเนินการตามแผนฟื้นฟูระบุไว้ในช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. ปีหน้า ใช้เวลาไม่เกิน 7 ปี เพื่อหลุดจากองค์กรฟื้นฟูกิจการ และระหว่างนั้น ต้องมีการผ่าตัดใหญ่ครั้งมโหฬาร ทั้งเรื่องคน และสายงาน โดยเฉพาะบุคคลกร จากเดิมมีพนักงานเกือบ 3 หมื่นคน ลดให้เหลือไม่เกิน 1 หมื่นคน เพื่อลดค่าใช้จ่ายนั้นเอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงในการบริหารกิจการของ การบินไทย ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงเชิงลึกถึงสาเหตุที่ทำใหฟ้การบินไทยขาดทุนหลายประการ โดยบางข้อระบุว่าสาเหตุมาจากการบริหารงานบุคคลที่ล้มเหลว ไม่มีประสิทธิภาพ ส่อเอื้อให้กับตนเองและพวกพ้องซึ่งเป็นเหตุสำคัญทำให้บริษัท ประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news