Home
|
คลิปข่าวทั่วไป

WFH มาตรการเยียวยาที่หายไป

WFH มาตรการเยียวยาที่หายไป(click ดูวิดีโอ)

ยอดการติดเชื้อโควิด- 19 ในประเทศไทย ที่นับวันพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องจาก 2 หลัก ไป 3 4 บางวันทำสถิติไปถึง 2,000 กว่าคนแล้ว และยังไม่รู้ว่าอนาคตแนวโน้มจะไปทางไหน จะลดลงกลับไปหลักร้อย หรือ พุ่งทะยานขึ้นสู่ 5 หลัก

ดังนั้น มาตรการหยุดเชื้อเพื่อชาติ หรือ การทำงานที่บ้าน ถูกหยิบยกมาเมื่อวันที่ 13 เม.ย. โดยรัฐบาลได้สั่งการไปยังหน่วยงานราชการให้ทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home จนถึงสิ้นเดือน เม.ย.นี้ พร้อมขอความร่วมมือภาคเอกชนให้พนักงานทำงานที่บ้านด้วยนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือเรื่องแปลกอะไร คนส่วนใหญ่ผ่านจุดนี้มากันแล้ว แต่สิ่งที่แปลกหรือรัฐอาจหลงลืม คือ การออกมาตรการช่วยเหลือ เพราะแม้คนจะทำงานที่บ้าน ไม่ต้องเสียค่ารถ ค่าเดินทาง แต่ค่าไฟจากการทำงานที่ต้องเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รายได้เสริม เช่น โอทีที่หายไป นี่อาจเป็นการเพิ่มภาระให้ประชาชนหรือไม่

โดยเมื่อช่วงต้นปีรัฐบาลใจป๋าทุ่มงบกว่า 8,000 ล้านบาท ออก 3 มาตรการ ช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้า 23.70 ล้านราย หรือ คิดเป็น 97 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ เป็นระยะเวลา 2 เดือน ระหว่างเดือน ก.พ.-มี.ค.2564 เช่น ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ได้รับค่าไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรกทุกราย ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน รับส่วนลดค่าไฟฟ้าในส่วนของหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากบิลค่าไฟฟ้าซึ่งใช้เดือน ธ.ค.2563 เป็นฐานในการคำนวณส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ยังไม่พอ รัฐบาลมีนโยบายลดค่าน้ำประปา 10% วงเงิน 257 ล้านบาท ในรอบเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2564 บรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน 4.55 ล้านราย แต่ทำไมโควิดระบาดรอบ 3 และสาเหตุไม่ได้มาจากประชาชนคนทั่วไปที่การ์ดตก แต่ไฉนรัฐบาลยังไม่ให้ความช่วยเหลืออีก ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งไฟฟ้าหรือน้ำต่างยังไม่มีท่าทีในเรื่องนี้

ด้านนางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ที่ปรึกษาสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท. เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า การทำงานที่บ้าน หรือ Work from home ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในสังคมไทย ก่อนหน้านี้ที่เกิดการระบาดรอบแรก คนได้เรียนรู้ องค์กรได้ปรับตัวพอสมควร จนมาถึงปัจจุบันบางบริษัทได้ปรับวิธีการทำงาน ปรับระบบใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคนิวนอมอลมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนมาตรการช่วยเหลือในช่วงที่คนต้องทำงานที่บ้าน ประเด็นอาจอยู่ที่งบประมาณของรัฐบาล มากกว่าการจะออกนโยบายอะไรมาช่วยเหลือ โดยการทำงานที่บ้าน ช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ได้จริง แต่คนที่น่าจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ ข้าราชการ พร้อมกันนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตุว่า การให้ทำงานที่บ้านคงไม่เหมาะกับทุกองค์กร โดยเฉพาะด้านงานบริการ เช่น การท่าเรือฯ กรมศุลกากร เป็นต้น

ขณะที่นายจิตติน วิเศษสมบัติ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงการแพร่ระบาดโควิดรอบใหม่ พนักงานส่วนใหญ่ทำงานที่บ้านตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ส่วนทีมที่ต้องลงพื้นที่พบเกษตรกร ชาวสวน บางส่วนมีการทำแผนล่วงหน้าไปแล้ว บางทีมต้องชะลอไปก่อน เพราะถ้าลงพื้นที่ในช่วงนี้อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงทั้งกับเกษตรและพนักงาน

ด้านมาตรการช่วยเหลือพนักงานที่ทำงานที่บ้าน ทางผู้บริหารยังไม่ได้แจ้งอะไรเพิ่มเติม แต่เรื่องของรายได้ยังได้รับการปกติ มาตรการช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบโควิดคงไม่จำเป็น

อย่างไรก็ตาม เราคงต้องมาตรการกันว่า ช่วงการแพร่ระบาดของโควิดระลอก 3 รัฐบาลจะงัดไว้วิเศษออกมาใช้เพิ่มเติมหรือไม่ เพราะตอนนี้บางคนที่ได้สิทธิ์เราชนะ คนละครึ่ง เรารักกัน ได้ใช้วงเงินครบแล้ว พร้อมทั้งติดตามเงินในถุงคลังรัฐบาลด้วย ทั้งงบประมาณปกติและเงินกู้ จะมีพอต่อลมหายใจช่วงโควิดไปได้ถึงเมื่อไหร่

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube