ในจังหวะที่พรุ่งนี้ (3ม.ค) รัฐบาลเศรษฐา กำลังเตรียมรับศึกซักฟอกงบประมาณ อันเป็นการประเดิมการเปิดทำการและ “ซ้อมใหญ่” “ศึกซักฟอกรัฐบาล” นอกจาก ประเด็นข่าวการปรับครม.ที่มีชื่อ “อุ๊งอิ๊ง” จะเข้ามา ซึ่งบรรดารัฐมนตรีทีการพูดถึง ในขณะที่นายกฯปฏิเสธ ยังไม่มีการปรับครม.แล้ว ด้านหนึ่งก็น่าสนใจ ประเด็นเปรียบเทียบโดยบังเอิญกับ 2 ปมคดีที่ส่งผลกระทบสังคมและกระบวนการยุติธรรม ที่มีตัวเลข14 ทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็น กรณีเรื่องราวของ “คนชั้น 14-ทักษิณ” ที่เป็น “ติ่งค้างคา” ให้กับ “รัฐบาลเศรษฐา” แบบข้ามปีกับการกลับมารับโทษแต่ไม่ได้จำคุกหากแต่เกิดอาการป่วยและยังคงรักษาตัวที่ร.พ.ตำรวจตั้งแต่ 22ส.ค.66 จนถึงบัดนี้ หรือ กรณีล่าสุด ของ คดี “เด็ก14กราดยิงในห้างพารากอน” ช่วงเดือน ต.ค.66 ที่ปรากฏเมื่อวาน(1ม.ค.)ได้รับการปล่อยตัว ด้วยเพราะ เด็ก14 ยังมีอาการป่วยจิตเวช ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ไปจนกว่าจะสามารถต่อสู้คดีได้ไปเรื่อยๆ (นายก+ครม.)
น่าสนใจว่ากรณี “เด็ก14” ปรากฏว่า สังคมไม่ยอมจบ หลังจากที่ ตำรวจใช้เวลาเต็มแม็ก 6 เดือน ในกีส่งฟ้องเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ปรากฏว่าต่อมา28ธ.ค.อัยการมีการตีกลับสำนวนที่ตำรวจตั้งข้อกล่าวหาไป5ข้อ และขอให้พนักงานสอบสวนทำสำนวนสรุปส่งกลับมาใหม่ โดยอัยการบอกทำนองตำรวจทำสำนวนและสรุปขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหลังจากตีกลับมาในวันที่29ธ.ค.ตำรวจจึงบอกว่าทำสำนวนไม่ทัน จึงต้องยอมปล่อยมือจากคดี ทำให้วันที่ 31ธ.ค.วันอาทิตย์ และ วันที่ 1 ม.ค.67 กรมพินิจฯ ก็มีการถือ “หมายปล่อยตัว” จากศาลคดีเด็กและเยาวชนและครอบครัวไปที่สถาบันกัลยา เพื่อแจ้งให้สถาบันกัลยามีการปล่อยตัว “เด็ก14” และมีการจัดหมายผู้ปกครองไปพูดคุยที่นั่นเมื่อวาน (1ม.ค.) สรุปผลตามกฎหมายคือต้องมีการยอมให้ปล่อยตัว เพียงแค่ผู้ปกครองยินยอมให้สถาบันมีการรับการรักษาตัวเด็ก 14 ไว้ เพื่อรักษาตัวต่อเนื่อง โดยที่ผู้ปกครองยอม เพราะรู้ว่าสังคมไม่ยอมจบ และจะเป็นอันตรายกับเด็กเอง ขณะเดียวกันก็ทำให้สังคมปลอดภัยจากเด็กเช่นกันถ้าปล่อยกลับเข้ามา
เรียกว่าแม้จะเป็นทางออกแบบไม่มีใครต้องเดือดร้อน แต่ สิ่งที่เป็นประเด็นคือ มีคำถามจากสังคม ว่า เด็ก14 มีอาการป่วยทางจิตวิกลจริต จริงหรือไม่ หรือ วิกลจริตแต่ไม่โง่ คือแกล้งหรือเปล่า หรือไม่มีอาการป่วยจริง เพราะมีความรู้และการวางแผนปฏิบัติการเป็นอย่างดี ในขณะก็มีประเด็นว่า เหตุผลของอัยการเหมือนไปบอกว่าตำรวจทำผิด ป.วิอาญาฝืนสอบสวนเด็ก ทั้งที่แพทย์บอกเด็กยังไม่สามารถสู้คดีได้ ส่งผลให้เมื่อวาน(1ม.ค.) “กองบัญชาการตำรวจนครบาล”(บชน.)ต้องมีการแถลงการณ์แจง8ข้อ ที่สรุปได้รวมๆทำนองเหมือนจะบอกว่า มีความผิดปกติเกี่ยวกับอาการป่วยของเด็กที่จู่ๆกลับมาพีคในช่วงก่อนหมดแม็กเวลาจนเป็นเหตุเงื่อนไขให้อัยการต้องตีกลับสำนวนเพราะ ผู้ต้องหาไม่สามารถสู้คดีได้ (เด็ก14)
น่าสนใจว่านอกจากความบังเอิญกับตัวเลข “เด็ก14” กับ “คนชั้น14” แล้ว ยัง มีความคล้ายเหมือนตรงที่กระบวนการยุติธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับกะบวนการรักษาตัว โดย ของ “คนชั้น 14” นั้นก็อยู่ในขั้นตอนที่รักษาตัวเป็นข้อเหตุข้ออ้างในการไม่ไปถูกลงโทษในการจำคุกจนถึงวันนี้ก็ข้ามปีเลยจากในส่วนของกระบวนการ 120 วันแล้วก็ที่อธิบดีจะต้องมีการรายงานไปยังรัฐมนตรี ในขณะเดียวกันจะมีการ โทษกึ่งหนึ่งก็คือหนึ่งปีหรือว่าหกเดือนในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่จะถึงซึ่งก็เป็นกระบวนการที่จะสามารถมีการขอยื่นพักโทษได้ไม่เพียงแต่เท่านั้นก็ยังมีในส่วนของระเบียบกรมราชทัณฑ์ที่ออกมาในเรื่องของการให้ไปรักษาตัวที่บ้าน ซึ่งก็ถูกจะจับผิดจากสังคมว่าเพื่อเอื้อประโยชน์เฉพาะ “คนชั้น 14” ที่ เป็น “บุคคลที่มีอิทธิพลการเมือง”ที่มีผลกระทบกับรัฐบาล (ทักษิณ)
ทำให้ 2 กรณี มีความคล้ายเหมือน กับ ผลกระทบกับสังคมวงกว้าง มั้งมิติทั้งในแง่มุมของผลกระทบในมิติกระบวนการยุติธรรม โดยเด็ก 14 กระทบกับสังคมที่ทำให้คนไทยและนักท่องเที่ยวหลอนการเดินห้างจนส่งผลกระทบการท่องเที่ยวช่วงปลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่คนชั้น 14 ก็มีผลกระทบเช่นกันกับในแวดวงการเมืองโดยเฉพาะเมื่อมีบทบาทสำคัญกับกลุ่มอำนาจทางการเมืองและ
รวมไปถึงกลุ่มที่พูดถึงในเรื่องของอำนาจการเมืองการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาล แต่สิ่งทีมีผลกระทบหลักคือ ในมิติของกระบวนการยุติธรรม ที่ทั้ง เด็ก14 และคนชั้น14 ทำให้เกิดปัญหาความน่าเชื่อถือในช่วงตั้งแต่ปี 2566 ที่ผ่านมา โดยทั้ง 2 เคสเกี่ยวข้องกับเรื่องของ “เหตุผลเรื่องสุขภาพ” ที่ให้รอดพ้นทางเทคนิคจากกระบวนการดำเนินคดีและลงโทษทั้งล้วนแล้วแต่ถูกจับจ้อง
ว่าจะไม่จบจากความรู้สึกของสังคมเช่นกัน.(นายก)
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews