หลังเหตุสังหาร โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ทุกประเทศตื่นตัวเรื่องการอารักขาผู้นำประเทศกันอีกครั้ง
ซึ่งจากอดีตถึงปัจจุบัน พบว่ามี ผู้นำประเทศไทย 4 รายที่ถูกลอบปองร้าย หรืออยู่ในเหตุการณ์ที่อันตราย ประกอบไปด้วย1.ทักษิณ ชินวัตร 2.พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ4 .อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
คนแรก “ทักษิณ ชินวัตร” ถูกปองร้ายและลอบสังหาร 4ครั้ง ครั้งแรก วันที่ 3 มี.ค.2544 ก่อนที่ทักษิณและคณะจะเดินทางไปเชียงใหม่ก่อนเวลาออกเดินทางเกิดเหตุระเบิดเครื่องบินไฟไหม้เสียหายทั้งลำ ต่อมา เจ้าหน้าที่รัฐฟันธงเป็นการ “วางระเบิด” แน่นอน
แต่ จากนั้นมีแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับ NTSB องค์กรการบินระดับโลก ว่า สาเหตุมาจากอุปกรณ์ทำความเย็นทำงานต่อเนื่องอย่างหนักเป็นเหตุให้ถังเชื้อเพลิงที่อยู่เหนืออุปกรณ์ทำความเย็นเกิดระเบิดการปองร้ายทักษิณ ครั้งที่ 2 ในปี 2546 “กลุ่มว้าแดง” ราชายาเสพติดได้ตั้งค่าหัวพ.ต.ท.ทักษิณไว้80 ล้านบาท
เนื่องจากไม่พอใจนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลที่ทำให้สูญเสียผลกระโยชน์จำนวนมาก ทำให้ ทักษิณต้องเปลี่ยนรถประจำตำแหน่งเป็นรถตู้หุ้มเกราะและสั่งเพิ่มทีมรักษาความปลอดภัย ต่อมาครั้งที่ 3 วันที่ 24 ส.ค.2549 จับกุม ร.ท.ธวัชชัย ทหารสังกัด กอ.รมน. ขับรถเก๋งยี่ห้อแดวูภายในบรรทุกระเบิดไปจอดรออยู่บริเวณสี่แยกบางพลัด
พบระเบิดทีเอ็นทีและซีโฟร์ผูกติดกันไว้ในกระโปรงท้าย รัศมีทำลายล้างไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร ใกล้บ้านพักของทักษิณในซอยจรัลสนิทวงศ์ 69แต่ทีม รปภ. ตรวจพบเสียก่อน
ต่อมามีการสรุปจากฝ่ายรัฐบาลว่า เป็นการมุ่งลอบสังหาร ทักษิณ โดยคนร้ายถูกดำเนินคดี ในความผิดร่วมกันเคลื่อนย้ายและมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโ ส่วนข้อหาพยายามฆ่า ทักษิณ ถูกยกฟ้อง และจากเหตุการณ์ครั้งนั้นถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็น “คาร์บ๊อง” มากกว่า “คาร์บอมบ์” ต่อมาครั้งที่ 4 ช่วงรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ทักษิณได้เดินทางกลับไทย การอ้างถึง “สไนเปอร์” จ้องลอบสังหาร ทำให้ ทักษิณต้องเดินทางออกนอกประเทศและเพิ่งกลับมาไทยเมื่อปี2566นั้นเอง
ผู้นำคนต่อมา พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 โดนลอบสังหารหลายครั้ง ครั้งแรก วันที่ 16 กรกฎาคม 2525 มีคณะบุคคลพยายามลอบสังหาร พล.อ.เปรม โดยยิงระเบิด M 72 ใส่รถขบวนของ พล.อ.เปรม ขณะเดินทางไปเปิดอนุสาวรีย์ที่ศูนย์การปืนใหญ่ ลพบุรี แต่กระสุนพลาดเป้าหมาย ต่อมาจับกุมนายทหารชั้นประทวน 5 นาย และผุ้ต้องหารายหนึ่งกระทำอัตวินิบาตกรรมขณะตำรวจเข้าจับกุม ส่วนผู้ต้องหาอีกสองนายต่อมาหายสาบสูญไป
ครั้งที่ 2 คนร้ายขว้างระเบิดแบบเอ็ม 26 ลูกเกลี้ยเข้าไปในบ้านสี่เสาฯเมื่อ 15 สิงหาคม 2525 เวลา 22.15 น. พล.อ.เปรมอยู่ภายในบ้าน ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
ครั้งที่ 3 เมื่อ 9 กันยายน 2525 ช่วงเวลาค่ำ คนร้ายวางระเบิดใกล้ห้องทำงานรัฐมนตรีกลาโหม ซึ่งเหตุการณ์ลอบสังหาร พล.อ.เปรม หลายครั้ง มีการกล่าวหาว่า ผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารทั้งหมดคือ “กลุ่มยังเติร์ก” หรือ นายทหาร จปร.7 แต่ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์
คนต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 เจ้าของฉายา “จอมพลกระดูกเหล็ก”โดนลอบสังหาร 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 23 ก.พ. 2477คนร้ายบุกประชิดตัวใช้ปืน 9 ม.ม. ยิงในระยะเผาขน แต่ได้รับเจ็บเล็กน้อย
ส่วนคนร้ายถูกจับได้ครั้งที่ 2 วันที่ 9 พ.ย.2481 เขาถูกคนรับใช้ในบ้านใช้อาวุธปืนพกยิง แต่กระสุนพลาด จับคนร้ายได้ ครั้งที่ 3 วันที่ 9 ธ.ค.2581 จอมพล ป. ถูกแม่ครัวในบ้านลอบใส่ยาพิษในอาหารกลางวัน แต่ล้างท้องทัน ส่วนคนร้ายนั้นไม่ซัดทอดผู้จ้างวาน
คนต่อมา “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 โดยอภิสิทธิ์ เคยให้สัมภาษณ์ กับ ไทยรัฐออนไลน์ เปิดใจวินาทีถูกเสื้อแดงล้อมรถปี 2552 ว่า”วันนั้นไปแถลงข่าวที่กระทรวงมหาดไทยเพื่อประกาศภาวะ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขากลับก็ถูกผู้ชุมนุมล้อมรถ คนก็กรูเข้ามา ผมถูกล้อมอยู่ประมาณ 20 นาที ตอนหลังคนขับรถสามารถถอยรถชนประตูออกมาได้ วันนั้นผมยืนยันว่าอยู่ในรถ แม้รถคันที่นั่งเป็นรถกันกระสุน
แต่พอจบจากเหตุการณ์นั้นตัวถังก็ใช้การไม่ได้แล้ว” อย่างไรก็ตาม เรื่องของการลอบสังหารผู้นำเป็นเรื่องที่จะประมาทไม่ได้ ฝ่ายมั่นคงต้องเข้มขั้นสุดนั้นเอง!
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews