Home
|
ข่าว

“อิ๊งค์” ซ้ำรอย-จุดไฟจริยธรรมสุดซอย?

 

 

แม้รัฐบาล “อุ๊งอิ๊ง”จะถือว่ามีอำนาจเข้าบริหารประเทศมาเพียง 2 สัปดาห์หากนับตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย.หลังการแถลงนโยบายต่อสภาฯเสร็จ ตามที่ถูก “นักร้อง”อย่าง “ณัฐพร โตประยูร” ผู้ขีดเส้นตายว่า “รัฐบาลอิ๊งค์”จะมีอายุไม่ถึง 3 เดือน ไปยื่นร้องว่า การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 162 เพราะแถลงไม่ครบ ว่า จะนำรายได้จากไหนมาใช้จ่ายไม่นับรวมเงื่อนปมการปฏิบัติหน้าที่ของนายกฯก่อนการแถลงนโยบายสิ้นสุด

 

โดยขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญ เพิกถอน คณะรัฐมนตรีทั้ง 35 คนออกจากตำแหน่งแต่ก็ถูกมองเหมือนเข้ามานานเพราะ “รับไม้ต่อ”จาก “เศรษฐา”ที่ถูก “ศาลรัฐธรรมนูญ” สอย ไป(14ส.ค.)ด้วยปม “ผิดจริยธรรม”จากที่ไปตั้ง “ทนายถุงขนม”เป็นรัฐมนตรี

 

ดังนั้นไม่แปลกว่า การเข้ามาของ “รัฐบาลอิ๊งค์”ท่ามกลาง “กับดักจริยธรรม”จะรีบ “ปั่นงาน”แนว “ประชานิยม”แบบเปลี่ยนเงินดิจิทัลให้เป็นเงินสด เอาใจประชาชนสุดๆ ประเดิม “แจกทันที”กับ “กลุ่มเปราะบาง”กลุ่มผู้พิการ ในวันพรุ่งนี้(25ก.ย.) ไม่นับรวมความพยายามปั่นนโยบาย “ค่าแรง400”บาท แต่มีอันสะดุดแจกไมทัน 1ต.ค. พราะฝ่าย “นายจ้าง”ไม่เข้าร่วมไตรภาคีเช่นกันกับ “ปีกการเมือง”รัฐบาลเพื่อไทย ที่มีการหันมาพลิกเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบใน “บางมาตรา” ในประเด็น “จริยธรรม” และ กรอบอำนาจองค์กรอิสระ โดยเฉพาะ “ศาลรัฐธรรมนูญ” จากเดิมที่ทำท่าว่าจะ “ดึงเช็ง”ไปจนสุดวาระรัฐบาล ที่ถูกมองว่ามาจากอาการ
“หลอน”กรณี “เศรษฐา”ที่ถูกสอยปม “จริยธรรม”

 

ที่ประเด็นนี้นำมาสู่ การผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญเร็วขึ้นของเพื่อไทย แบบคล้อยกันไปบางประเด็นกับฝ่ายค้าน “พรรคเด็ก-ประชาชน”โดยจะมีการนัดพรรคร่วมรัฐบาลประชุมหารือกันวันที่ 1 ต.ค. ที่หะแรกดูเหมือนบรรดา “นักการเมือง”พรรคร่วมรัฐบาล ก็ดูจะเออออห่อหมก อย่างท่าเห็นท่าทีของ “เสี่ยหนู”สัปดาห์ที่แล้ว กระทั่งมาพลิกในวันนี้แบบ “แหยง”กับการแก้ปม “จริยธรรม”ว่าจะเป็น “สารไวไฟ”ทำให้ส่งผลกระทบ อย่างที่ “เสี่ยหนู”ยืนยันวันนี้ ว่า พรรคภูมิใจไทยไม่เอาด้วยแก้รัฐธรรมนูญหมวดมาตรฐานจริยธรรม และว่า “นายกฯอิ๊งค์”ยังบอกถ้าทำดีจะกลัวอะไร โดยยืนยันว่าการแถลงของ “นายภราดร”รองประธานสภาของภูมิใจไทย ถือเป็นการแถลงของพรรค โดยก่อนหน้านี้ “ภราดร” พูดถึงเรื่องแก้ รธน.ปมจริยธรรมว่า นักการเมืองมองแทนประชาชนไม่ได้ คนพูดต้องเป็นประชาชน
ต้องคิดให้รอบคอบ ต้องแก้เพื่อประโยชน์ของประชาชน ผู้มีส่วนได้เสียไปพูด สังคมไม่ฟังเรื่องนี้คุยกับเพื่อส.ส.บอกว่าอันตราย และเซนซิทีฟ ควรทำเป็นประชามติทั้งฉบับ ยกเว้นหมวด1 หมวด 2 และตั้งสสร.แก้ปมรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ดีกว่าแก้เฉพาะ 2 ประเด็น พรรค ภท.ถึงไม่เสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญ

 

เรียกว่าไม่แต่ “ภูมิใจไทย”แต่ยังมี “ชาติไทยพัฒนา”ที่ก็มีท่าทีทำนองเดียวกันกับการแก้รายมาตราของเพื่อไทยที่เหมือนไปแก้เพื่อประโยชน์ของฝ่ายการเมือง อย่างที่ “วรชัย เหมมะ”อดีตแกนนำเสื้อแดง ที่ปรึกษารองนายกฯภูมิธรรม ยังคงยืนยันว่า มีความจำเป็นที่ต้องแก้รัฐธรรมนูญปมจริยธรรม ที่กรอบกว้างเกินไปรวมถึงกรอบอำนาจขององค์กรอิสระ ที่มีตุลาการเข้ามาตัดสินนักการเมืองที่ส่งผลกระทบในการบริหารประเทศของ “รัฐบาลอิ๊งค์”ที่ต้องมาติดกรอบเหล่านี้ โดยยกตัวอย่างเคส “เศรษฐา”ที่กำลังบริหารประเทศอยู่ดีๆก็ถูกสอยจาก “ศาลรัฐธรรมนูญ”ด้วยปม “จริยธรรม”

 

 

กระนั้นก็น่าสนใจกับการกระตุกเตือนจากอดีตแกนนำม็อบพันธมิตร อย่าง “สุริยะใส กตะศิลา” ที่โพสFBเมื่อวานทำนอง ระวังแก้รัฐธรรมนูญ หักกระแสสังคม! ต้องใช้เวลาสร้างฉันทามติ โดยระบุว่า การเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยเพื่อไทย และ พรรคประชาชนในประเด็นการตีกรอบจริยธรรม ประเด็นอำนาจองค์กรอิสระประเด็นยุบพรรคและประเด็นอื่นๆนั้น

 

แม้เป็นสิทธิของพรรคการเมืองและสส.ที่สามารถดำเนินการได้ก็ตาม แต่หากพิจารณาความชอบธรรมแล้ว ความชอบธรรมยังต่ำอยู่ เพราะอย่าลืมว่าประเด็นที่เสนอแก้ไขกันเป็นประเด็นที่มีความล่อแหลมสูง แม้จะได้ฉันทานุมัตืในสภา แต่ถ้าปราศจาก นทานุมัติจากนอกสภาหรือจากประชาชนก็รังแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกโดยไม่จำเป็น รัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่ถึงเดือนมีปัญหาให้แก้ไขมากมายยังไม่มีผลงานเชิงประจักษ์ ควรเร่งสร้าง ความเชื่อมั่นความไว้วางใจจากประชาชนมากกว่านี้ถึงจะพอมีโอกาส พรรคเพื่อไทยควรซึมซับบทเรียนอย่างน้อยสองเหตุการณ์ คือกรณีการขายหุ้นชินคอร์เปอเรชั่นและหลีกหนีการอภิปรายของสภาเมื่อปี 2549 และการออกกฏหมายนิรโทษกรรมสุดซอยเมื่อปี 2556 ก็เป็นบทเรียนของเสียงข้างมากที่ขาดความชอบ

 

 


 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube